รู้ตน เห็นตน พ้นบ่วงมาร




ถ้าบุคคลใด รู้ตน เห็นตน อยู่ตลอดเวลา
บุคคลนั้นจะพ้นจากบ่วงมารไปได้อย่างสบาย

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

ธรรมะรวมสู่การรู้กายใจ




ธรรมะทั้งหลายที่ต้องศึกษาเรียนรู้
ล้วนรวมสู่การรู้แจ้งที่กายใจของตนเอง
ไม่ใช่รู้ออกไปข้างนอก
การรู้ความจริงนั้น 
จะต้องรู้เข้ามาสู่กายและใจของตน
ในขณะปัจจุบัน...

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

ความเห็นตามสัญญากับด้วยปัญญาต่างกันมาก




ความเห็นตามสัญญากับความเห็นด้วยปัญญา ต่างกันอยู่มากราวฟ้ากับดิน 
ความเห็นด้วยสัญญา พาให้ผู้เห็นมีอารมณ์มาก 
มักเสกสรรตัวว่ามีความรู้มาก ทั้งที่กำลังหลงมาก 
จึงมีทิฏฐิมานะมาก ไม่ยอมลงให้ใครง่ายๆ... 
ส่วนความเห็นด้วยปัญญาเป็นความเห็นซึ่งพร้อม...ที่จะถอดถอน 
ความสำคัญมั่นหมายต่างๆ อันเป็นตัวกิเลสทิฏฐิมานะน้อยใหญ่ออกไป
โดยลำดับที่ปัญญาหยั่งถึง ถ้าปัญญาหยั่งลงโดยทั่วถึงจริงๆ 
กิเลสทั้งมวลก็พังทลายไปหมด 

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

สัญญาเป็นความจำ ปัญญาเป็นความรู้เท่าทัน




ผู้ที่เรียนศึกษามากๆ นั้นนะ มันเป็นด้วยสัญญา ไม่ใช่ปัญญา 
สัญญาเป็นความจำ ปัญญาเป็นความรู้เท่าทัน 
มันไม่เหมือนกัน มันต่างกัน 
บางคนจำสัญญาเป็นปัญญา 
ถ้าปัญญาแล้ว ไม่สุขกับใคร ไม่ทุกข์กับใคร 
ไม่เดือดร้อนกับใคร ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อน...
กับจิตที่มันสงบหรือไม่สงบ 
ถ้าสัญญาไม่ใช่อย่างนั้นนะ 
มันเกิดความยึดมั่นถือมั่น 
เป็นทุกข์เป็นร้อน 
ไปตามอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ความรวยที่แท้จริงคือความไม่อยาก



          เคยมีคนถามพระพุทธเจ้าว่า “ความรวยที่แท้จริงคืออะไร” พระพุทธเจ้าทรงตอบว่า “ความรวยที่แท้จริงคือความไม่อยาก” คนที่รวยเล็กน้อยคือพระโสดาบันและพระสกิทาคามี คนที่รวยปานกลางคือพระอนาคามี คนที่รวยที่สุดคือพระอรหันต์

                                                                                                                หลวงปู่สาย เขมธัมโม

ถ้ามีสติตัวเดียว แจ้งหมดโลก




ของทุกอย่าง ขอให้มี “สติ” ตัวเดียว 
ถ้ามีสติตัวเดียว
แจ้งหมดโลก

หลวงปู่บัว สิริปุณโณ

ทุกข์เพราะการทำความเพียร เป็นทุกข์ที่คุ้มค่า



          ทุกข์เพราะการทำความเพียร มิใช่ทุกข์ที่ไม่ได้ผล เป็นทุกข์ที่ทำลงไปแล้วคุ้มค่า เราอย่าไปท้อถอย การปราบปรามกิเลส ก็คือการแก้ความไม่ดีที่สถิตอยู่ภายในตัวเรา จึงต้องทำด้วยความตั้งใจจริงๆ  

                                                                                                       หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ 

"ปัญญา" เกิดจากการรับรู้ "อย่างทะลุปรุโปร่ง" ต่อสิ่งปกติ




เราไม่ต้องไปแสวงหาความแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา
ให้มารู้จัก มาตระหนัก กับสิ่งที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมดาๆ นั่นแหละ
"ปัญญา" ไม่ได้เกิดจากสิ่งผิดปกติ 
แต่มันเกิดจากการรับรู้ "อย่างทะลุปรุโปร่ง" ต่อสิ่งปกติ

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

มรรคทั้งแปดรวมอยู่ที่สติองค์เดียวนี้



คำสอนของพระพุทธเจ้า
ทรงเปรียบสติเหมือนหนทางไว้เหมือนกัน
ว่ามรรคก็คือสติ 
มรรคทั้งแปดก็รวมอยู่ที่สติองค์เดียวนี้
ในเมื่อสติคอยระวังรักษาใจ
เราก็เดินไปตามทางที่พระพุทธเจ้า
ท่านทรงแนะนำบอกสอนหรือชี้ทางเอาไว้นั้น 
ไม่ออกนอกลู่นอกทาง 
ผลของการไม่ออกนอกลู่นอกทางก็คือ 
ได้รับความสงบร่มเย็นใจ

หลวงปู่แบน ธนากาโร

ให้คิดว่าการเกิดในโลก ไม่มีอะไรเป็นสุข



โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ หาความสุขจริงไม่ได้  
เราต้องเข้าใจตามนี้ ให้คิดว่าการเกิดในโลก
ไม่มีอะไรเป็นสุข มีแต่ความทุกข์อย่างเดียว 
ตั้งแต่วันเกิดถึงวันตาย ไม่มีความสุข มีแต่ความทุกข์ 
คนที่คิดว่าสุขก็คือโง่ เป็นคนที่ไร้ปัญญ
คือไม่ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

สติยิ่งไวเท่าไร ใจก็ยิ่งฟุ้งซ่านน้อยลง



สติยิ่งไวเท่าไร 
ใจก็ยิ่งฟุ้งซ่านน้อยลง
และอยู่เป็นที่เป็นทางมากขึ้น
เราสามารถฝึกใจให้มีสติ
ว่องไวได้ในทุกโอกาส
ไม่ต้องรอเข้าคอร์สกรรมฐาน
ไม่ว่าจะทำอะไรในชีวิตประจำวัน
ก็เป็นโอกาสฝึกสติได้ทั้งสิ้น

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

ธรรมชาติของใจเป็นของสอนได้ยาก



         ธรรมชาติของใจเป็นของสอนได้ยาก ไม่เหมือนสอนผู้อื่น คือสอนผู้อื่นนั้นสอนได้ง่าย ส่วนตนนี้สอนยากนัก ผู้ที่เป็นปราชญ์จะต้องสอนตนเสียก่อน จึงค่อยสอนผู้อื่นต่อภายหลัง แม้พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านก็สอนตนของท่านเสียก่อน เมื่อสอนตนของท่านได้แล้ว จึงได้สอนผู้อื่นต่อไป

                                                                                                   พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
                                                                                                       (จันทร์ สิริจนฺโท)

ถ้าเรามี "ความจริง" คือ "ธรรมะ" เป็นทรัพย์ของเราแล้ว...




ถ้าเรามี "ความจริง" คือ "ธรรมะ" เป็นทรัพย์ของเราแล้ว 
ถึงจะมีเงิน ก็ไม่ทุกข์ ไม่มีก็ไม่ทุกข์ เพราะจิตของเราเป็นโลกุตระแล้ว

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

จงพยายามหาที่พึ่งให้ตนเอง



จงพยายามหาที่พึ่งให้ตนเอง 
คนที่หาพึ่งแต่คนอื่นจะพบแต่ความหลอกลวง 
การฝึกจิตให้เป็นที่พึ่งแก่ตนเองได้ คือ การฝึกสติ 
การปฏิบัติธรรมตามแนวของพระพุทธเจ้าที่ถูกต้อง 
อยู่ที่การสร้างจิตของตัวเองให้มีพลังเข้มแข็ง 
มีสติสัมปชัญญะรู้รอบอยู่ที่ตัวเอง 
สามารถยืนหยัดอยู่ในความเป็นอิสระได้ตลอดกาล 
ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยอะไร

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

การปฏิบัติ ให้เริ่มจากความรู้ตัว



การฝึกหัดปฏิบัติอบรมจิตใจ
ให้เริ่มต้นจนเกิดความรู้ตัวเสียก่อน
พยายามทำความรู้ตัวให้มาก มีสติ
นั่งก็รู้ เดินก็รู้
มีความสุขก็รู้ มีความทุกข์ก็รู้
ถ้าหากว่าเราอบรมความรู้ให้โดยรอบแล้ว
เราทั้งหลายไม่ต้องสงสัย
จะต้องได้พุทโธแน่นอน
พุทโธจะต้องบังเกิดขึ้นในตัวของเราแน่นอน
พุทโธก็แปลโดยตรงแล้วว่าผู้รู้...

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

กิเลสอยู่ภายในใจ ไม่ได้อยู่ในสมอง



          การที่จะหลุดพ้นความทุกข์ในวัฏสงสารนี้ได้ ไม่ใช่มาจากการอ่านตำรา แต่มาจากการทำความเพียร เจริญจิตภาวนา เพราะกิเลสนั้นอยู่ภายในใจ ไม่ได้อยู่ในสมอง ถ้ากิเลสอยู่ในสมองจริงๆ ก็คงไม่ต้องเป็นห่วง เพราะถ้าตายไป สมองก็ตาย กิเลสก็ตายไปด้วย แต่เหตุการณ์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เมื่อไปเกิดใหม่ กิเลสทุกอย่างมันตามไปด้วยทั้งหมด

                                                                                                หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

ทุกข์อยู่ที่ตัวเราเอง ไม่ใช่สิ่งแวดล้อม




ถ้าพวกเรารู้เท่าทันความเป็นจริงแล้ว 
เราก็จะไม่ยึดติด จิตก็จะว่าง ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้น 
เพราะทุกข์มันอยู่ที่ตัวเราเอง ไม่ได้อยู่ที่สิ่งแวดล้อม 
สิ่งแวดล้อมเป็นธรรมชาติของโลกและไม่ได้เป็นศัตรูของเรา 
เขาเป็นเขามีของเขาอยู่อย่างนี้ มาพร้อมกับโลก 
เราต่างหากที่เข้าไปเกาะ ไปยึดถือ จึงเกิดทุกข์ 
เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากทุกข์ 
ก็จงพยายามอย่าเอาจิตไปเกาะไปยึดถือ 
ให้ปล่อยวางไว้ตามธรรมชาติ

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

ไม่ได้ห้ามหรือกดข่มความคิด แต่จงรู้เท่าทัน ว่ามันกำลังคิด



นักปฏิบัติทั้งหลายจึงต้องควบคุมจิตของตน 
ด้วยตั้ง สติรักษาจิต อยู่ตลอดเวลา
ถ้าจิตแส่ส่ายไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก 
รู้ว่าเป็นไปเพื่อก่อแล้ว รีบดึงกลับมาให้เข้าใจ 
นับว่าใช้ได้แต่ยังไม่ดี 

ต้องเพียรพยายามฝึกหัดต่อไปอีก 
จนกระทั่งใจนึกคิดปรุงแต่ง
ไปในกามโลก รูปโลก อรูปโลก
ก็ รู้เท่าทัน ทุกขณะ 
อย่าไปตามรู้หรือรู้ตาม 
จะไม่มีเวลาตามทันเลยสักที

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

พึงละวางสังขาร



อย่าไปยินดี ยินร้าย ในการอยู่ การเป็น การตาย 
สังขารทั้งหลาย ไม่ว่า เนื้อ เล็บ หนัง กระดูก ผม ขน 
เป็นสิ่งที่ปรุงแต่งขึ้นมาทั้งสิ้น มันไม่ใช่ตัวตน 
ไม่เป็นสิ่งอมตะ รอถึงวันแค่นั้นแหละ 
จะวันไหนก็แค่นั้นเอง ละวางซะ

หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

จิตไม่ยึดของในโลก เป็นโชคมหาศาล



จิตไม่ยึดของในโลก 
เป็นโชคมหาศาล 
พระนิพพานอยู่ตรงนี้

หลวงปู่สาย เขมธัมโม

ปราชญ์ไม่เศร้าโศกต่อความแก่และความตาย




..โลกถูกความแก่และความตายบดขยี้อย่างนี้เอง, 
ปราชญ์ทั้งหลายรู้เท่าทันกระบวนความเป็นไปของโลกแล้ว 
จึงไม่เศร้าโศก...

พุทธธรรมฉบับปรับขยาย
นิพนธ์ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ตอน ๘๑

วิปัสสนาคือการฝึกจิตให้เป็นปกติ



การเจริญวิปัสสนา
เป็นเรื่องของการฝึกจิตใจ
ให้มีความเป็นปกติ
ให้จิตมีสติ...รู้ตื่นอยู่ภายใน
ปล่อยวางอยู่ในตัว...
รู้...ดู...เท่าทันอยู่
แต่ว่าไม่บังคับ ไม่กดข่ม
มีความเป็นปกติ เป็นธรรมดา
นั่นแหละคือ ภาวนา 
เป็นความเจริญของสติ

เขมรังสี ภิกขุ
ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
หน้า ๔๔

สุข-ทุกข์ ไม่ใช่ของจริง



สุข-ทุกข์นี้เป็นเพียงอาการ
อาการของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ของจริง
ที่มันให้ความหนัก-เบาแก่เรา
เพราะเราเข้าไปจับไปแบก
ไปถือเอาความยินดี-ยินร้ายเป็นของเรา
ถ้าเราพิจารณาในแง่ไตรลักษณ์
คือลักษณะที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง
สุข-ทุกข์ ยินดี-ยินร้าย 
...มันเป็นเพียงสภาวะที่มีอยู่ในโลก

หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม

ความดีให้รีบทำขณะนี้



         ความดี คือการบำเพ็ญทาน ความดี คือการรักษาศีล ความดี คือการบำเพ็ญจิตตภาวนา ให้รีบทำในขณะนี้ทีเดียว พระพุทธเจ้าทรงอุปมาไว้ เหมือนกับไฟไหม้ผมบนศีรษะ ให้รีบดับ ไม่ใช่ไหม้บ้านไหม้ช่องนะ ไหม้ผมบนศีรษะนี่ ต้องดับทันที การทำความดีก็ต้องรีบทำทันทีเหมือนกัน ทันทีทุกขณะ

                                                                                                     หลวงปู่แบน ธนากโร

ความว่างเป็นปกติของใจ



ความว่างเป็นปกติของใจ ที่ไม่มีกิเลส 
กิเลสทำให้ใจขุ่นมัว เพราะความเห็นผิด 
จิตไปติดอยู่กับสิ่งที่เราเห็น ขาดสติปัญญา 
ไม่ได้สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 
ปล่อยให้ออกไปตามสิ่งที่รู้

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

ธรรมะมุ่งมั่นในการสลัดคืน




ธรรมะมุ่งมั่นในการสลัดคืน
กิเลสมุ่งมั่นในการเกาะยึด...

พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

ให้รู้ตัว รู้เท่าทัน ไม่ใช่รู้ตามจิต




พระพุทธศาสนาสอนให้เราสำรวมจิต คือระวังจิต
เมื่อจิตมันจะคิดนึกอะไร ไม่ว่าดีหรือชั่ว
ให้รู้ตัวอยู่เสมอ ให้รู้เท่าทันมัน
มิใช่รู้ตามจิต รู้ตามจิตไม่มีวันจะตามทัน
เมื่อรู้เท่าทันมันแล้ว มันก็จะอยู่นิ่งเฉย
ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง...
ไม่เป็นอดีต ไม่เป็นอนาคต
อยู่เป็นกลางเฉยๆ ไม่เป็นบุญเป็นบาป

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี 

ถ้าอยากสุข ต้องละความพอใจในกามคุณ



ถ้าอยากประสบความสุขที่ปรารถนาอยู่นั้น 
ต้องละอารมณ์คือรักใคร่พอใจในกามคุณ ๕ คือ 
ความพอใจในรูป ในเสียง ในกลิ่น 
ในรส ในสัมผัส อันเป็นเหยื่อล่อ
ให้ติดอยู่ในกองทุกข์ เสียให้หมดสิ้นไปจากใจ...
ความสุขที่ปรารถนาอยู่นั้นก็จะฉายแสงออกมาให้ปรากฏเห็น
ตามสมควรแก่ความเพียร ที่ได้ทุ่มเทลงไปในทางที่ถูกที่ชอบ

หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ

การทำความรู้สึกตัว มีอานิสงส์มาก




การทำความรู้สึกตัวนั้น จึงมีอานิสงส์มาก 
ถ้าหากไม่รู้สึกตัว ในขณะไหนเวลาใดแล้ว 
เรียกว่าคนหลงตน ลืมตัว หลงกายลืมใจ 
คล้ายๆ คือเราไม่มีชีวิตนี่เอง . . .

หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

การภาวนาเป็นงานออกจากทุกข์




การภาวนานี้ เป็นการงานชนิดหนึ่ง
เป็นงานที่ออกจากทุกข์ 
ก็คือออกจากความหลง
ความไม่รู้ตัวนี้เอง 
ให้เกิดความรู้ตัวขึ้นมา
ขอให้เราท่านทั้งหลายที่เริ่มต้นภาวนานั้น 
อย่าอยากรู้มาก...
เพียงแค่รู้ตัวก็พอแล้ว

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ




จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ 
แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร 
อย่ายึดมั่นถือมั่น
แม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง

หลวงปู่ชา สุภัทโท

ตัวตนยิ่งน้อย ยิ่งสงบ




ตัวตนของเรายิ่งน้อยลงมากเท่าไหร่ 
เราก็จะพบความสุข
ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า 
“นัตถิ สันติ ปะรัง สุขัง” 
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี 

หลวงพ่อโพธินันทะ

ความรู้ตัวย่อมแผดเผากิเลสที่ทำให้หลง




เมื่อเราระลึกรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา 

ความรู้นั้นย่อมแผดเผากิเลส
ที่ทำให้เราหลงได้

เพราะความรู้กับความหลงนั้น
เป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม ...

ถ้ามีความรู้น้อย ความหลง 
ความพลั้ง ความเผลอก็มากขึ้น 
ถ้ามีความรู้ตัวมาก ความหลงก็น้อยลงไป 
ถ้าเรามีความรู้เต็มเปี่ยม ความหลงก็ไม่มี 
เพราะมันไม่มีที่อยู่ ที่เกาะ ที่อาศัย. . .

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ

การปฏิบัติธรรม ทำให้จิตใจมีพลัง



          คนโดยส่วนมากอาจเห็นว่า การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการทำไปโดยที่ไม่ได้ผลอะไรอย่างนี้ก็มี แต่ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติจริงๆ นั้นเห็นว่า การปฏิบัติธรรมนั้น เป็นการที่ทำให้จิตใจของเรานั้นมีพลัง คือ กำลังเข้มแข็งขึ้น จะทำการงานทางกาย ทางวาจา หรือทางใดๆ ก็ตาม

                                                                                             หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป

อย่าให้ค่าความคิดในการภาวนา



เวลาภาวนาแล้วเกิดความคิดขึ้นมา
อย่าเพิ่งให้ค่ากับความคิดนั้นว่าเป็นความคิดดีหรือไม่ดี
ให้เห็นแค่ว่ามันคิดเท่านั้นก็พอ 
ถ้าให้ค่ามันว่าดีหรือไม่ดีเมื่อไหร่
นั่นคือการเผลอหลงเข้าไปจับไปยึดกับความคิดนั้นแล้ว
เมื่อยึดแล้วมันจะปรุงสุขปรุงทุกข์ เอาผิดเอาถูกกับความคิดทันที
นี่คือสิ่งที่คนส่วนมากติดหล่มอยู่ตรงนี้ 

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

จงหยุดตระเวนหาพระดีๆ



จงหยุดตระเวนหาพระดีๆ 
เพื่อหาที่สงบๆ เพื่อปฏิบัติธรรม 
เพราะความสงบอยู่ที่ใจ 
หากไม่หยุดอารมณ์ฟุ้งซ่าน 
หยุดอารมณ์พอใจกับไม่พอใจ 
ไม่สำรวมอายตนะหกที่ใจของตนให้ได้ 
ก็ยังโง่เหมือนเดิม 
เพราะนิวรณ์ ๕ ยังครองจิตอยู่ 

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

สามบ่วงนี้ ใครแก้ได้ จึงจะพ้นสงสาร




....ปุตฺตาคีเว บุตรบ่วงหนึ่งเกี่ยวพันคอ
ธนํปาเท ทรัพย์สมบัติผูกบาทากรอเหนี่ยวไว้
ภริยาหตฺเถ ภรรยาเยี่ยงอย่างปอรึงรัดมือนา
สามบ่วงนี้ ใครแก้ได้ จึงจะพ้นสงสาร ......

หลวงพ่อทูล ขิปปปัญโญ

ปัญหาชีวิต คือการที่ผู้คนออกจากความคิดไม่เป็น



ปัญหาชีวิต คือการที่ผู้คนออกจากความคิดไม่เป็น 
ปัญหาสังคมไร้ความสงบสุขเพราะไม่รู้จักวางจิต
ให้อยู่เหนือทุกข์เหนือปัญหา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่นับถือพุทธศาสนา 
มียาแต่ไม่ยอมกิน มีทรัพย์สินแต่ไม่ยอมใช้ 
จึงต้องทนกับการเป็นโรคทุกข์ทรมานอย่างไม่น่าให้อภัย 
หลักวิปัสสนาคือทางออกของชีวิต
แต่ผู้คนก็ไม่ใส่ใจศึกษาฝึกฝนให้ถึงภูมิภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน
การที่ไม่ได้ศึกษาพัฒนาสติ ทำให้จิตอ่อนแอ 
ไม่มีเครื่องป้องกันแก้ไขหรือทำลายความคิดปรุงแต่งได้ 
นี่คือปัจจัยที่ได้ก่อกลายเป็นยุคมืดของสรรพสัตว์อย่างแท้จริง

หลวงตาสุริยา วัดป่าโสมพนัส 
(ส.มหาปัญโญภิกขุ)

อยู่อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ประเสริฐสุด



การอยู่อย่างไม่สูญเสียอิสรภาพ 
อย่างที่ว่าอยู่อย่างไม่ยึดมั่นถือมั่น 
หรือการมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา
...ถือว่าเป็นการมีชีวิตอยู่อย่างประเสริฐสุด 
ตามพุทธภาษิตว่า “ปญฺญาชีวี ชีวิตมาหุ เสฎฐํ”
(ขุ.สุ.๒๕/๓๑๑/๓๖๐)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) 

ธรรมะเป็นของจริง




ธรรมะเป็นของจริง ปฏิบัติจริง ได้ผลจริง
ธรรมทั้งหลาย จำได้ง่าย รู้ได้ยาก
เหมือนครกสาก ไม่รู้รส บดอาหา
รสของเกลือ ผู้ที่เชื่อ ต้องรับประทาน
รสมันหวาน รู้ด้วยใจ ภายในตน


หลวงปู่เปลื้อง ปัญญาวันโต

ถ้ามีกรรมฐานกำกับ จะควบคุมใจได้



แม้เราจะเป็นผู้ทำการงานอยู่ก็ตาม
ถ้าเรามีกรรมฐานกำกับไปด้วย
จิตใจของเราจะไม่ร้อนเกิน
ความโลภ ความโกรธ ความหลง
มันจะไม่แรงเกิน มันจะรู้จักคลี่คลาย 
จะอยู่ในความควบคุม
ถ้าเป็นผู้มีสติ ดูกายดูใจอยู่เสมอ
พอจิตมันจะโกรธ มันก็รู้แล้ว
มันรู้จักใจตัวเองอยู่
สติสัมปชัญญะเข้าไปรู้
มันก็จะรู้จักดับ รู้จักคลาย รู้จักควบคุม

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

สติจะนำพาเกิดญาณปัญญา



การศึกษาหลักของศาสนาก็ตั้งต้นจากการมีสติดูกาย ดูใจ 
กายใจเป็นตำราเล่มใหญ่ในทางศาสนาและทุกๆ ศาสนา 
สติเปิดตำรากายใจ จนได้คำตอบ กายใจจะบอกความจริงแก่ผู้มีสติเอง 
ไม่ต้องคิดหาเหตุผลอะไร สติจะนำพาเกิดญาณปัญญา รู้แจ้ง

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

ผู้มีปัญญา พึงตัดคำว่าอยาก



          ยิ่งอยากยิ่งไม่ได้ อยากได้ยิ่งหนี อยากมียิ่งยาก ฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญาพึงตัดคำว่า อยาก ออกเสียก่อนที่จะลงมือกระทำการใด จะช่วยให้งานนั้นเสร็จเร็วยิ่งขึ้น

                                                                                                              หลวงปู่สาม อกิญจโน

จิตดวงที่มีความรัก ย่อมมีความกลัว ความโศก



สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
จิตดวงที่มีความรักย่อมคัดค้านความไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
จิตดวงที่มีความรักย่อมคัดค้านความเป็นทุกข์
สังขารทั้งปวงเป็นอนัตตา...
จิตดวงที่มีความรักย่อมคัดค้านความเป็นอนัตตา
จิตดวงที่มีความรัก 
ย่อมกลัวการปรากฏขึ้นของความจริง
จิตดวงที่มีความรัก 
เมื่อความจริงปรากฏขึ้น ย่อมมีโศก
จิตดวงที่ไม่ยอมรับความจริง
ย่อมมีความกลัว ย่อมมีความโศก

พระอาจารย์ชุมพล พลปญฺโญ

จิตสงบ ตัวรู้เกิด



สติแก่กล้า จิตย่อมทนไม่ได้ 
เมื่อทนไม่ได้ ก็สงบลง 
ครั้นสงบลงแล้ว
มันก็ "รู้"

หลวงปู่ขาว อนาลโย

ที่เห็นว่าชีวิตมีสุข...เพราะหลงอารมณ์



          ความเห็นผิดประการต่อมาคือ เห็นว่าชีวิตนี้เป็นสุขหรือสุขขัง แท้จริงแล้วความสุขจริงๆ ไม่มี มีแต่ความทุกข์ ที่เราเห็นว่าเป็นสุขเพราะหลงในอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อยินดีพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็หลงว่าเป็นความสุข แท้จริงแล้วมีความทุกข์อยู่ในสิ่งนั้น เช่น สตรีอยากมีลูก เมื่อตั้งครรภ์ก็ยินดีมีความสุข เมื่อคลอดลูกออกมาก็ยิ่งดีใจมีความสุข การตั้งครรภ์และการคลอดลูกเป็นความทุกข์ เป็นความเจ็บปวดของร่างกายอย่างสาหัส แต่ความยินดีอยากได้ลูกบดบังความทุกข์เอาไว้โดยสิ้นเชิง

                                                                                         พระอาจารย์ชาญชัย อธิปญฺโญ

ความชิงชัง ใจแคบ เห็นแก่ตัว คือปัญหา



           เมื่อพระเยซูถูกตรึงไว้บนไม้กางเขน  เราจะเห็นได้ชัดเจนถึงตัวอย่างของคนที่กำลังเจ็บปวดอย่างทารุณที่สุดต่อหน้าฝูงชน  กระนั้นก็ดี  พระเยซูไม่ได้โทษใครเลย  กลับตรัสว่า “โปรดประทานอภัยให้แก่เขาเหล่านั้นด้วยเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่าได้ทำอะไรลงไป” นี้เป็นสัญลักษณ์ของปัญญา  หมายความว่า ถึงแม้จะมีคนมาตรึงเราบนไม้กางเขน เฆี่ยนฆ่าเรา ดูหมิ่นเหยียดหยามทุกอย่าง  แต่ความชิงชัง ความใจแคบเห็นแก่ตัวนั้นต่างหากที่เป็นตัวปัญหา เป็นความทุกข์  ถ้าพระเยซูคริสต์ตรัสออกไปว่า “มันผู้ใดมาทำเรา มันผู้นั้นจงพินาศทุกคน” แล้วละก็  ท่านจะกลายเป็นอาชญากรคนหนึ่งไปด้วย  และอีกสองสามวันต่อมาคนก็จะลืมหมด 

                                                                                                            พระอาจารย์สุเมโธ 

ปัญญา กับ ศีล เป็นของคู่กัน



สมาธิเกิด แต่ไม่รักษาศีล 
ปัญญาไม่เกิด
"ปัญญา กับ ศีล เป็นของคู่กัน" 
พระพุทธเจ้า ตรัสไว้อย่างนั้น

หลวงปู่เจือ สุภโร

ศาสนา ของศักดิ์สิทธิ์ เป็นสันทิฏฐิโก



ศาสนา   ของศักดิ์สิทธิ์  เป็นสันทิฏฐิโก
ผู้ที่เรียน  เอาไว้โชว์     ก็ไม่รู้ของจริง
รู้แล้วไม่เชื่อ เหมือนสร้างเรือ  ไว้ไม่ใช้
มีทั้งแจว    มีทั้งพาย  เก็บไว้บนตลิ่ง
สร้างเรือ    ไว้บนบก   สร้างครกไว้บนเขา
เมื่อพบทรัพย์ แล้วไม่เอา น่าสงสารจริงๆ

หลวงปู่เปลื้อง ปัญญาวันโต

เมื่อใจกลับสู่กาย...



เมื่อเธอสามารถนำ..ใจของเธอ
กลับมาสู่...กายของเธอ
และดำรงอยู่อย่างตั้งมั่นในปัจจุบันขณะ
เธอจะตระหนักรู้ได้ว่า
เธอมีเงื่อนไขมากมายที่ทำให้เธอมีความสุข
มากกว่าที่คิดไว้เสียอีก
นี่คือ...ทิฎฐธรรมะสุขวิหาร

ท่านติช นัท ฮันห์