ศีล-สมาธิ-ปัญญา ไม่อาจแยกจากกันได้



ศีล คือ อาการที่จิตเป็นปกติ จึงไม่ก่อให้เกิดการพูดผิด และทำผิด
สมาธิ คือ อาการที่จิตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปตามปรากฏการณ์
หรืออารมณ์ต่างๆ ที่กระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
ปัญญา คือ อาการที่จิตรู้เท่าทันอารมณ์ รู้ทันปรากฏการณ์
ต่างๆ นั้น ไม่หลงไปตามกระแสโลก
ศีล-สมาธิ-ปัญญา จึงไม่อาจแยกจากกันได้ 
เพราะความปกติ ตั้งมั่น 
และรู้เท่าทันอารมณ์นั้นเป็นเรื่องเดียวกัน

พระอาจารย์มหาวิเชียร ชินวังโส

เราไม่ศึกษาความจริง จึงรู้ธรรมะไม่จริง




...แม้ว่าความจริง ได้เกิดอยู่ทุกขณะก็ตาม 
แต่เราเองกลับไม่รู้ไม่เห็น อาทิเช่น 
เกิดทุกวัน แก่ลงทุกวัน 
เจ็บอยู่ทุกวัน ตายอยู่ทุกวัน 
เราไม่ได้ศึกษาให้ถ่องแท้ ...
จึงทำให้รู้ธรรมะไม่จริง...

หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล

กรรมฐานคือฝึกสติ



การทำกรรมฐานที่จะฝึก ไม่ใช่ฝึกร่างกายของเราให้นิ่งได้นาน
แต่เราจะฝึกสติของเราต่างหาก จับจุดให้ดี

หลวงตาม้า(วรงคต) วิริยธโร

ใจว่าง ไม่มีกิเลสปรุงแต่ง มันก็เป็นสมาธิ



การทำสมาธิแบบปล่อยวาง หรือวิธีธรรมชาติ 
ไม่ต้องเข้า ไม่ต้องออกจากสมาธิ คือมันเป็นของมันเอง 
ถ้าจิตของเราว่างและมีสติสัมปชัญญะ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่  
เดิน ยืน นั่ง นอน  มันจะมีความรู้สึกตัวทุกอิริยาบถ 
สมาธิโดยวิธีธรรมชาติ ไม่มีท่านั่ง  จะนั่งอย่างไรก็ได้...
เพียงแต่คอยระวังใจไม่ให้กำหนัดขัดเคืองในอารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดขัดเคือง ระวังใจมิให้ลุ่มหลงมัวเมา (ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความลุ่มหลงมัวเมา) 
ใจว่าง ไม่มีกิเลสปรุงแต่ง มันก็เป็นสมาธิ 
ไม่ต้องเข้าไม่ต้องออกสมาธิ รักษาจิตให้อยู่กับตัวตลอดเวลาก็พอ

หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ)