เราควรลดตัวเองให้เหลือศูนย์


เมื่อเรายังไม่สิ้นกิเลส ควรตระหนักอยู่เสมอว่า
คำสรรเสริญเยินยอใดๆ ที่เราได้รับนั้นเป็นสิ่งน่ากลัว
เพราะจะทำให้เราหลงตัวเอง 
และนำตนไปสู่อันตรายแห่งการปฏิบัติธรรม
เราควรลดตัวเองให้เหลือศูนย์ เพื่อไม่ให้มีอหังการ
ซึ่งเป็นเสมือนม่านทึบที่มาบดบังแสงสว่างไว้
และเป็นเครื่องทำลายความสงบสุขของเรา 
การไม่อหังการหรืออัสมิมานะนั้น 
พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็นบรมสุข

อาจารย์วศิน อินทสระ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ไม่ใช่ "เรา" ไปแจ่มแจ้ง


การที่เราปฏิบัติแล้ว 
ภายในจะแจ่มแจ้งได้ด้วยตัวของมันเอง 
ไม่ใช่ "เรา" ไปแจ่มแจ้ง 
อารมณ์ปรุงแต่งดี-ไม่ดี ถูก-ผิด น้อยใจ-เสียใจ 
เมื่อมี "เรา" ไปยึดมั่น ว่าอันนี้ถูก อันนี้ผิด อันนี้ไม่ดี 
จิตภายในจึงเศร้าหมอง 
แท้ที่จริงแล้ว มันเกิดมาเดี๋ยวมันก็ดับไปเป็นธรรมดา 
เพราะอะไร เพราะว่าไม่มี "เรา" เป็นผู้ไปหมายมั่น 
ดีก็ไม่ใช่ ไม่ดีก็ไม่ใช่ 
มีแต่ความรู้สึกภายใน ไม่หมายมั่น 
มัชฌิมาปฏิปทาจึงเกิดขึ้น 
คือไม่ตึงเกินไป ไม่หย่อนเกินไป 
นี่เป็นทางสายกลางของพระพุทธองค์

พระอาจารย์ธัมมทีโป

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


อารมณ์สงบ



อารมณ์สงบ 
คือ ไม่คิดว่าเราต้องการความเกิดอีก 
และจิตก็มีความสงบ 
เห็นว่า สภาพร่างกายนี้ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา
ไอ้ตัวคิดว่าเรา ว่าของเรา นี่สงบไป
สงบตัวยึดถือวัตถุก็ตาม สิ่งมีชีวิตก็ตาม
ว่าเป็นเรา เป็นของเรา นี่ตัวสงบ ตัวนี้นะ
มีอารมณ์เป็นปกติอยู่เสมอ 
คิดว่าอัตภาพร่างกายนี้ ไม่มีเรา ไม่มีของเรา
และมันก็ไม่มีอะไรเป็นเราอีก
หาตัวเราในนั้นไม่ได้

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/

“เห็นธรรม” หมายถึง เห็น “ใจ”



ใครเห็นธรรมคนนั้นเห็นเรา ตถาคต
“เห็นธรรม” หมายถึง เห็น “ใจ”
แล้วก็คลายใจออกจากความหลงของขันธ์ห้า

พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/

การปฏิบัติคือการทำความรู้อยู่ เข้าใจอยู่ ยอมรับอยู่



หน้าที่ของเรา ก็คือ จะต้องเข้าใจ
ลีลามายาของตัวตนให้ได้มากที่สุด
ถึงบอกเสมอว่าการปฏิบัติไม่ได้มีอะไรมาก
นอกจากนั่งดูกิเลส กิเลสก็คือตัวตนของเรา
ทําความเข้าใจมัน เรียนรู้มัน
ถ้าเราไม่ดูกิเลส ไม่ศึกษากิเลส
แล้วจะเรียกว่าการปฏิบัติได้อย่างไร
เราไม่ได้ปฏิบัติเอาสภาวะ เราไม่ได้ปฏิบัติเอาจิตที่โปร่ง โล่ง เบา
ไม่ได้ปฏิบัติเอาจิตที่สงบ ไม่ได้เอาจิตที่ว่าง ไม่ได้เอาจิตที่หลุดพ้น
ไม่ใช่ นั่นคือกิเลสทั้งนั้น ที่พูดมา
ไม่ใช่ ถ้าอย่างนั้นมันไม่มีทางหลุดพ้นที่แท้จริง
การปฏิบัติคือการทำความรู้อยู่ เข้าใจอยู่ ยอมรับอยู่ แค่นั้นเอง
แล้วไม่อะไรกับมันทั้งสิ้น วางเฉย
เมื่อนั้นจิตเราก็จะสะอาด สงบ สบาย แค่นั้นเอง

พระอาจารย์ชยธมฺโมภิกขุ


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/



ดูด้วยความวางเฉยเป็นวิธีการดับ



หน้าที่ของการปฏิบัติคือ
การเข้าไปเรียนรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง 
ไม่ได้มีหน้าที่ไปบังคับ 
จริงอยู่ว่า เป้าหมาย หรือผลลัพธ์ ผลสุดท้ายก็คือ
สามารถจะดับไปสิ้นเชิง 
แต่ว่าวิธีการปฏิบัติไม่ต้องไปคิดให้มันดับ 
แต่ทำหน้าที่ให้ถูกต้องคือเรียนรู้
กับสภาพธรรมเหล่านั้นตามความเป็นจริง 
เขาเกิดอย่างไร เขาปรากฏอย่างไร เขามีเหตุมีปัจจัยอย่างไร 
แสดงอาการอย่างไร ก็ดูเขาไปอย่างนั้น 
ดูเขาด้วยความวางเฉยเป็นวิธีการดับ 

แต่ถ้าดูด้วยการไม่วางเฉย 
ก็จะไม่ใช่เอาน้ำไปดับอย่างเดียว
แต่เอาเชื้อเพลิงเติมเข้าไปด้วย 
ถ้าใช้น้ำด้วยน้ำมันด้วย ก็เลยดับได้ยาก 
หรืออาจดับไม่ได้ ฉะนั้นต้องดูด้วยความวางเฉย 
การดูด้วยความวางเฉยจะเป็นเหมือนน้ำล้วนๆ 
เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดับไฟ

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

บุญ​ที่สำคัญที่สุด​ คือ​ สติ



บุญ​ที่สำคัญที่สุด​ คือ​ สติ​ ที่ระลึก​ ภาวนารักษาจิตของเรา
ถ้าบุคคลผู้ใด​มีสติ​ ระลึกรู้​ในจิตอยู่เสมอ​ 
ผู้นั้นชื่อว่า​ ไม่ห่างจาก​ฌาน
คอยเพ่งพินิจ​จิตของเราอยู่เสมอ
จิตของเราไม่ดี​ ก็ให้รู้ว่าจิตเราไม่ดี​
จิตของเราดี​ ก็ให้รู้ว่าจิตของเราดี
จิตของเราไม่สงบ​ ก็ให้รู้ว่าจิตของเราไม่สงบ​
จิตของเราสงบ​ ก็ให้รู้ว่าจิตของเราสงบ
คือ​ เราสร้าง​ความรู้​
ส่วนสงบหรือไม่สงบ​ 
เป็นเรื่องของสังขาร​ ความปรุงแต่ง

หลวงปู่สุวัจน์​ สุวโจ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

การชนะตัวเองคือหนีทุกข์



การเอาชนะคนอื่นสิ่งอื่น
มันเป็นเรื่องของกิเลสตัณหา 
การคิดที่จะเอาชนะตัวเอง
มันเป็นเรื่องของการตัดภพตัดชาติ (หนีทุกข์) 
เพราะฉะนั้นนักปราชญ์ในทางธรรม
ท่านถึงไม่คิดที่จะไปต่อสู้กับใครมากกว่าตัวเอง

พระอาจารย์ชายแดน สีลสุทโธ



ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ก็แค่รู้ จิตจะกลับมาเอง


..ถ้าจิตของเราไหลไปจากคำบริกรรมภาวนา
หรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง หรือลมหายใจ
ก็แค่รู้ จิตจะกลับมาเอง
ไม่ต้องทำอะไร ไม่ต้องพยายามดึงกลับมา..
..รู้แค่นี้ ไม่ต้องไปกังวล
กับการพยายามห้ามไม่ให้ความคิดเกิดขึ้น
หลักสำคัญในการปฏิบัติคือ “การไม่ทำอะไร”
ขอให้พวกเราทำความเข้าใจกับคำว่า “ทำ”
เมื่อใดที่เราทำอะไรก็ตาม นั่นแปลว่าเราได้สร้างตัวตนขึ้นมาแล้ว
ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นแล้วเราไม่รู้ เราแค่รู้ว่าเราไม่รู้
ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของสติทำงาน
เราไม่ได้เป็นผู้คิด ขอย้ำอีกครั้งว่า เราไม่ได้เป็นผู้คิด
Thought Thinks ความคิดคิดเอง

พระอาจารย์สุมโนภิกขุ


ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

https://www.facebook.com/Jaturataweep/

คนพาลคือความคิด


การไม่คบคนพาล 
ในความหมายทางปรมัตถ์
ไม่ใช่การไม่คบ
คนดื่มสุรา เล่นการพนัน
หรือไม่คบคนมัวเมาอบายมุข
นี่ เป็นคนพาลนอกตัว
คนพาลตัวจริง คือ ตัวความคิดของเรานี่
ถ้าเราคิดไม่ดี ความคิดพาเรา
ไปโลภ ไปโกรธ ไปหลง
พาเราไปเกิดกิเลสตัณหา 
นี่คือ คนพาล

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา




จิตของปุถุชน จิตพระอรหันต์


จิตของปุถุชนนั้น ยังมีการให้ค่า ให้คะแนน
กับอารมณ์ กับสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง 
นั่นคือ ยังมีชอบ/ไม่ชอบอยู่
ทั้งชอบและไม่ชอบนั้น จะเกิดอาการจิตกระเพื่อม 
ธรรมชาติของใจนั้นเมื่อพบกับอารมณ์ที่พึงใจ 
ก็จะกระเพื่อมในลักษณะดึงเข้ามาหาตัว 
อยากเก็บรักษาสภาวะนั้นไว้นาน ๆ 
แต่เมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ชัง 
จะเกิดปฏิกิริยาตรงกันข้าม กล่าวคือ 
จะมีการผลักออกจากตัว 
ด้วยความรู้สึกทนอยู่กับความไม่ชอบนั้นไม่ได้
ต่อเมื่อญาณหยั่งรากลึกตั้งมั่น 
ก็จะมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นปกติเป็นปัจจุบัน
การเห็น การได้ยิน จะเป็นปกติขึ้น 
สิ่งใดมากระทบ จิตก็จะฉลาดในการตั้งรับ 
อาการคอรัปชั่นทางอารมณ์ก็จะลดลง
หากแต่จิตของพระอรหันต์นั้น ตั้งตรง 90 องศา 
ไม่ให้คะแนนกับอารมณ์ จิตไม่กระเพื่อม จิตก็จะโปร่งเบา วาง สงบ
มีแต่ “รู้” แจ่มจรัสเจิดจ้าอยู่ในภายใน 
จิตในสภาวะดังกล่าว จะว่างจากความผูกยึด เป็นตัวเป็นตน
ไม่มีใครทุกข์ ไม่มีใครสุข ไม่มีใครเจ็บ ใครตาย 
ไม่มีใครได้ ใครเสีย แม้แต่ตัวสติปัญญา หรือสัมมาทิฏฐิ ใดๆ 
ไม่มีทั้งผู้กระทํา และผู้ถูกกระทําใดๆ ทั้งสิ้น
มีแต่วางอยู่ “รู้” อยู่ เจิดจรัสสว่างไสวอยู่ ในภายในชั่วนิรันดร์
จะเข้าถึงสภาวะนี้ได้ จะต้องสร้างทัศนะแห่งความเคยชิน
ในการที่จะย้อนมองข้างใน ให้เป็นปกตินิสัย 
แล้วเพียรเฝ้าดูเฝ้ารู้ เฝ้าระวังจิตให้ติดต่อสืบเนื่อง 
ปัดทุกสิ่งที่ผุดโผล่ขึ้นมาทิ้งให้หมด 
ไม่ตามคอยวิเคราะห์ วิจัย วิจารณ์ใดๆ ทั้งสิ้น 
ไม่ให้ความใส่ใจ หรือสนใจกับพฤติกรรมใดๆ ที่อุบัติขึ้นมาในจิต 
ไม่ว่าจะเป็นแสง สี เสียง หรือนิมิตวิเศษวิโสใดๆ ทั้งนั้น 
ก็เมื่อสภาวะที่แท้จริงของจิตเดิมแท้นั้น ว่างและบริสุทธิ์แล้ว 
ในความว่างบริสุทธิ์นั้น จะมีพฤติกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นได้อย่างไร
ขอจงจําไว้อย่างประทับใจว่า
จงรู้ทุกอย่างที่จิตรู้ แต่อย่าติดในรู้นั้น

หลวงพ่อมนตรี อาภัสสโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



มันเป็นเราเพราะว่าเราไม่ทันมัน


ความทุกข์มาขนาดไหน 
ความซึมเศร้าขนาดไหน 
ทุกข์โศกขนาดไหน 
ถ้าเราตั้งสติได้แล้วก็พยายาม "ดู" 
ดูมัน... เหมือนเราเป็นผู้ดู
ไม่ช้าก็เร็ว...มันต้องดับ! 
อาการเหล่านี้มันไม่ใช่เรา 
 ความทุกข์ทั้งหลายมันไม่ใช่เรา 
 มันเป็นเราเพราะว่าเราไม่ทันมัน 

พระอาจารย์ครรชิต สุทฺธิจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

รู้ทันชอบไม่ชอบ จิตเป็นกลาง



จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

จับแก่นได้


แม้จิตที่ซัดส่ายไปภายนอก
ถ้ามีสติรู้สึกตัวอยู่เท่ากับจับแก่นได้
จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับอารมณ์ มีสติรักษา
ย่อมทำให้อารมณ์ที่จะเริ่มปรุงแต่ง
ถูกสติที่ตื่นปัดในสิ่งที่เป็นโทษทิ้งเสียได้

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



อย่างนี้เริ่มเดินทางถูก


ถ้าราคะ โทสะ โมหะ โลภะ 
เบาบางลงเพราะมีสติ 
และสำรวมอินทรีย์ 
ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น 
อารมณ์ใดปรากฏ และรู้สึกตัว
และเริ่มไม่เข้าไปปรุงแต่ง
ไม่สร้างเชื้อฟืนในใจ 
อย่างนี้เริ่มเดินทางถูก 
เพราะจับจิต ควบคุมจิตด้วยสติ
มีกำลังของสติ สมาธิได้มากขึ้น

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


การหนีทุกข์ หากเข้าใจใช้ประตูใจประตูเดียว



การหนีทุกข์ หากเข้าใจใช้ประตูใจประตูเดียว 
จะปิดจะเปิดก็อยู่ที่เราฝึกมันได้แค่ไหน 
ถ้าใจมันวางเฉยเป็น 
ทุกข์นอกทุกข์ใน ก็ทำอะไรเราไม่ได้ 
สงครามอย่างนี้สิที่เราควรจะสนใจให้มากๆ 
รบอย่างนี้สิพ้นทุกข์ได้ 
ชนะแล้วพวกแพ้ตามไม่ทัน 
เพราะเราไปพระนิพพานได้ 
ความทุกข์ก็ตามเราไปไม่ได้ 
จำไว้สงครามภายนอก 
ถ้าหากจำเป็นต้องทำ 
ก็จงตั้งจิตทำเพื่อชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ เท่านั้น 
เราจะไม่มีความโกรธแค้นอาฆาต-พยาบาท เป็นการส่วนตัว 
กายเราตั้งใจอุทิศให้พระพุทธเจ้า 
เราก็ต้องทำเพื่อท่าน 
จิตเราอุทิศให้พระธรรมคำสั่งสอนของท่าน 
ก็ต้องทำสงครามภายใน รบกับความทุกข์ให้เป็น

สมเด็จองค์ปฐม
ธรรมนำไปสู่ความหลุดพ้น เล่ม ๑

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ก็สักว่าแต่เห็น สักว่าแต่รู้




เห็นอะไรก็อย่าปล่อยไปตามมัน
เห็นปรากฏอยู่เฉยๆ 
อย่าคิดคาดคะเนไปทางอื่นใด
ดูมันเฉยๆ
เห็นอะไร รู้อะไร...

ก็สักว่าแต่เห็น สักว่าแต่รู้
อย่าไปสำคัญมั่นหมายในสิ่งที่รู้ที่เห็น 
เอามาเป็นตัว
มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
มันเป็นเพียง
สัญญา .. อนิจจา 
สังขารา ..อนิจจา
ธรรมา .. อนัตตา


หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

รู้เห็นตามจริง


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ล้มกระดานขั้นสุดท้าย


ล้มกระดาน
ล้มกระดานขั้นสุดท้าย คือมีปัญญาเห็นว่า
ธาตุแต่ละธาตุเขาก็ทำงานไปตามหน้าที่
ขันธ์แต่ละขันธ์เขาก็ปรุงแต่งไปตามหน้าที่
ไม่ได้คิดจะแทรกแซงมัน ต่างคนต่างอยู่
เกิดปัญญาขั้นสุดท้าย เห็นว่า
“ธาตุ ๔ ธาตุ ๖ ขันธ์ ๕
ทั้งหมดนี่แหละ…เป็นทุกข์”
จิตก็โยนธาตุขันธ์ทิ้งไป.. ล้มกระดานไปเลย

พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

ถ้าไม่ต้องการเกิดอีก


ถ้าไม่ต้องการเกิดอีก 
มีสติระวังรักษาศีลตลอดชีวิต
มีสติระวังไม่ทำชั่วทางกาย ใจ 
มีสติระวังถอนความยินดี
และความไม่ยินดี 
ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 
เมื่อปฏิบัติเช่นนี้ 
อวิชชาโมหะ เป็นอันถูกละ 
จิตหยุดปรุงแต่ง ภพชาติจึงดับไป

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

นิโรธะความดับทุกข์ คือ ดับอารมณ์


นิโรธะความดับทุกข์ 
ก็คือ ดับอารมณ์เรานี่เอง 
พระอรหันต์ผู้ไกลจากกิเลส 
ก็คือไกลจากอารมณ์
ถ้าเรายังมีอารมณ์อยู่ ยังมีทุกข์อยู่
เพราะอารมณ์ทั้งหลายนี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 
เป็นเรือนของตัณหา 
ถ้าไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เหล่านี้ 
ตัณหาจะไปอยากได้กับอะไร มันก็ไม่มี 
ในเมื่อมันไม่มี ก็วิมุตติหลุดพ้น.......
เมื่อจิตของเราทำใจให้ห่างจากอารมณ์ได้ 
นี่แหละเป็นปัญญา.. 
ถ้าเราอาศัยพิจารณาประจำๆ และทำความเข้าใจอยู่เรื่อยๆ
มีความชำนาญเกิดวสี..มันก็จะเกิดญาณความรู้  
คือรับรู้อารมณ์แล้วก็ละอารมณ์ไปอย่างรวดเร็ว.. 
..รับรู้แต่ไม่รับเก็บ ผ่านๆ ไป

พระอาจารย์นพพร อาทิจฺจวํโส

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



วิปัสสนากรรมฐาน



วิปัสสนากรรมฐาน คือ 
การอัญเชิญสติที่ถูกทอดทิ้งขึ้นมานั่งบัลลังก์ของชีวิต 
เมื่อสติขึ้นมานั่งสู่บัลลังก์แล้ว 
จิตก็จะคลานเข้ามาหมอบถวายบังคมอยู่เบื้องหน้าสติ 
สติจะควบคุมจิตมิให้แส่ออกไปคบหาอารมณ์ต่างๆ ภายนอก 
ในที่สุดจิตก็จะค่อยคุ้นเคยกับการสงบอยู่กับอารมณ์เดียว 
เมื่อจิตสงบตั้งมั่นดีแล้ว 
การรู้ตามความเป็นจริงก็เป็นผลติดตามมา 
เมื่อนั้นแหละเราก็จะทราบได้ว่า 
ความทุกข์มันมาจากไหน 
เราจะสกัดกั้นมันได้อย่างไร 
นี่แหละผลงานของสติ

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เมื่อไม่ให้ความสำคัญ ความคิดจะดับไปเอง



เมื่อเราไม่ให้ความสำคัญกับความคิด
ความคิดมันก็จะดับไปเอง
ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ที่..ง่วงเหงาหาวนอน 
ซึมเศร้า..เบื่อ..เซ็ง..กลุ้ม..เหงา 
นี่คืออาการของความคิด อาการของจิต 
ก็อย่าไปใส่ใจมัน ให้รู้ว่า เนี่ยคิดแล้ว 
มันคิดอะไรก็ช่าง 
"รู้" แล้วก็ ทิ้งซะ 

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา

วิ่งหาสุข คือวิ่งหาทุกข์


ทุกครั้งที่เราวิ่งเข้าหาความสุข 
เราก็วิ่งเข้าหาความทุกข์กัน
พอเจอความทุกข์ เราก็วิ่งหนีความทุกข์
เพื่อจะไปหาความสุขใหม่ 
ก็วิ่งเข้าไปหาความทุกข์ใหม่อีก
เพราะความสุขที่เราเข้าใจว่า
เป็นความสุขนั้น ความจริงแล้ว..
"เป็นความทุกข์"
ที่เป็นความทุกข์ก็เพราะว่า 
"ไม่เที่ยงแท้แน่นอน"
ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมบังคับของเรา 
เวลาเราได้มา เราก็ไม่สามารถที่จะสั่ง 
ให้สิ่งที่เราได้มา ความสุขที่เราได้มานั้น
อยู่กับเราไปตลอด ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง...

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



แล้วมันก็ดับลงเอง



มันเข้ามาทางอายตนะ และพุ่งเข้าสู่ใจ
วิธี คือ สติตั้งมั่น คอยดักจับสิ่งที่มาตกกระทบ
รู้เหตุ แล้ววางใจ ไม่รับ 
แล้วมันก็ดับลงเอง

หลวงพ่อฉลวย อาภาธโร

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา