ผู้มีสคิ กำลังจะตาย ไม่ไปอบาย


จากหนังสือ เพียงแค่...รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


แล้วความสงบจะเข้าถึงใจเราเอง


การสร้างสภาวะทำให้เราเหนื่อย 
เรา"แค่รู้"ของจริงที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า 
"ปฎิบัติเหมือนไม่ได้ปฎิบัติ" 
.
แต่เรากลับไปปฎิบัติเพราะอยากได้ 
แต่มันก็ไม่ได้อะไรเลย 
แม้แต่ความสงบของลม "เราก็ไปคิดถึงความสงบ" 
.
ความคิดและความอยาก  คิดเท่าไหร่ก็ไม่สงบ 
พอหยุดอยาก มันสงบเลย 
.
ดังนั้นความสงบมันต้องอยู่กับความจริง และนิ่ง 
นิ่งจากการปรุงแต่ง นิ่งจากตัวตัณหา 
และอยู่กับความเป็นกลางตามธรรมชาติ  
แล้วความสงบจะเข้าถึงใจเราเอง 
เพราะเรารู้จักวางใจเป็น 

พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท

Image by St33lv0ll from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ผู้มีสติย่อมไม่ปล่อยใจไปเป็น “ผู้ทุกข์”


แม้ความทุกข์จะจรเข้ามา
แต่ผู้มีสติย่อมไม่ปล่อยใจไปเป็น “ผู้ทุกข์”
หากเป็นเพียง “ผู้เห็นความทุกข์”
ผู้มีสติย่อมไม่ตีอกชกหัว
เพราะเข้าใจไปว่าตน “มีทุกข์” เหลือประมาณ
หากเห็นความทุกข์นั้นเป็นเพียงอาคันตุกะ
ที่จรเข้ามา หากไม่เอาตัวตน
เข้าไปแบกรับและปรุงแต่งต่อเติม
มันย่อมจางหายไปในที่สุด

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ

Image by St33lv0ll from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ความรู้แจ้ง หลุดพ้น จะบังเกิดขึ้นได้



ความรู้แจ้ง หลุดพ้น
จะบังเกิดขึ้นได้ 
ก็ต่อเมื่อเราสามารถ
ปรารถนาดีต่อผู้อื่น
ได้เท่าๆ กับที่เราปรารถนาดีต่อตนเอง 
และละวางตัวเอง
ได้เท่าๆ กับที่เราละเลยผู้อื่นอยู่
ซึ่งหากทำได้เช่นนั้น
แม้ว่าเราจะยังคงท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ
เราก็จะเป็นอิสระต่อความทุกข์ยากทั้งหลาย

พระอาจารย์ชยธมฺโมภิกขุ

หนังสือคู่มือฝึกจิต หน้า 20

Image by Daw8ID from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ความสงบที่เกิดจากปัญญา ไม่ใช่ความสุข


ความสงบนี้มี ๒ ประการ คือ 
ความสงบอย่างหยาบอย่างหนึ่ง 
และความสงบอย่างละเอียดอีกอย่างหนึ่ง 
อย่างหยาบนั่นคือเกิดจากสมาธิ
ที่เมื่อสงบแล้วก็มีความสุข 
แล้วถือเอาความสุขเป็นความสงบ 
.
อีกอย่างหนึ่งคือ 
ความสงบที่เกิดจากปัญญา 
นี้ไม่ได้ถือเอาความสุขเป็นความสงบ 
แต่ถือเอาจิตที่รู้จัก
พิจารณาสุขทุกข์เป็นความสงบ 
เพราะว่าความสุขทุกข์นี้
เป็นภพเป็นชาติเป็นอุปาทาน 
จะไม่พ้นจากวัฏสงสารเพราะติดสุขติดทุกข์ 
.
ความสุขจึงไม่ใช่ความสงบ 
ความสงบจึงไม่ใช่ความสุข
ฉะนั้น ความสงบที่เกิดจากปัญญา
นั้นจึงไม่ใช่ความสุข แต่เป็นความรู้เห็น
ตามความเป็นจริงของความสุขความทุกข์ 
แล้วไม่มีอุปาทานมั่นหมาย
ในสุขทุกข์ที่มันเกิดขึ้นมา 
ทำจิตให้เหนือสุขเหนือทุกข์นั้น 
ท่านจึงเรียกว่าเป็น
เป้าหมายของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง

หลวงปู่ชา สุภัทโท


Image by elvina1332 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ต้อนรับความไม่สำเร็จ


ถ้าต้อนรับความไม่สำเร็จ 
อย่างถูกต้อง
มันจะมอบความรู้ 
ที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ 
ถึงที่สุดในกาลข้างหน้า 
จนกลายเป็นผู้ทำอะไร สำเร็จไปหมด

ท่านพุทธทาสภิกขุ

Image by marcelkessler from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


มีแต่ตัว "ไม่รู้" ที่ทำงานตลอด


ตั้งสติให้เป็นนะ อย่าประมาทนะ 
เท้ากระทบพื้นอยู่ รู้สึก
กระพริบตาอยู่ ก็รู้สึก 
รู้ไป เพื่ออะไร? 
ให้ตัวรู้มันมีที่อยู่ 
เวลาตัว "ไม่รู้" ทำงานจะได้เห็น.. 
คนส่วนใหญ่ไม่มีตัวรู้ที่อาศัยอยู่ตรงนี้เลย 
มีแต่ตัว "ไม่รู้" ที่ทำงานตลอด 
เช่นไม่รู้แล้วก็เผลอคิดไปเรื่อยๆ..
เผลอคิดว่าเขาว่าเราแล้วก็ทุกข์ใจ 
และก็คิดว่าเขาเป็นคนทำให้เราทุกข์ 
จริงๆ แล้วความไม่รู้นะ
ที่เผลอคิดเข้ามามันทำให้ทุกข์ต่างหาก

พระอาจารย์อำนาจ โอภาโส

Image by Photorama from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



นี่ล่ะบูชาพระพุทธเจ้าสูงสุดเลย


จิต เป็นนามธรรม 
อย่าหลงว่ามันเป็นเรา 
มันเป็นแค่นามธรรม 
คำว่านามธรรมคือ 
ไม่มีตัวตนตั้งแต่แรกแล้ว
มันเป็นธรรมชาติอันหนึ่ง 
เป็นธรรมชาติที่นึกคิด
ปรุงแต่งอารมณ์ได้ รู้อารมณ์ได้
.
แต่จิตนี่เราสามารถฝึกให้เกิดปัญญา
คือรู้ความจริงรู้สิ่งทั้งหลายแล้วก็ปล่อยวาง
.
จิตสุดท้ายจะรู้ว่าทุกอย่างต้องวางหมด
ต้องปล่อยหมด แม้กระทั่งตัวจิตเอง
จิตต้องวางจิตได้ด้วย จิตต้องทิ้งจิตได้ด้วย 
จิตต้องไม่หลงยึดจิตเอาไว้
.
ยึดอะไรไม่ได้เลย
แม้ผลของการปฏิบัติ 
ก็สักแต่ว่าสภาวะ อะไรเกิดขึ้น 
ก็ไม่ไปยินดียินร้าย
มันจะชัดไม่ชัด รู้-เห็น ไม่รู้ ไม่เห็น
ก็ไม่ยินดียินร้าย ไม่ต้องเอาอะไร
.
ให้ปล่อยวางอย่างเดียวพอ
ทำเหมือนไม่เอาอะไร
.
นี่ล่ะบูชาพระพุทธเจ้าสูงสุดเลย
ก็คือเอาธรรมะ
ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เข้ามาในจิตเรา
โดยเฉพาะเนื้อหาของความเป็นพุทธภาวะ 
ก็คือการที่จิตไม่ยึดติดข้องอะไร

พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

Image by sipa from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


เท่านั้นก็เป็นธรรมแล้ว


ความพ้นทุกข์ไม่ได้อยู่ที่อื่น 
มันอยู่ที่ใจเรา 
ใจเราสบาย
ไม่ห่วงหน้าพะวงหลังก็หมดทุกข์ 
มันไม่ได้อยู่ที่การทรมานธาตุขันธ์
ให้ลำบากดอก 
มันอยู่ที่ความเป็นธรรมชาติ
ความพอดี สายกลาง 
ไม่ดีใจ เสียใจ 
ใจนิ่ง ใจว่างจากอารมณ์ภายใน ภายนอก
เท่านั้นก็เป็นธรรมแล้ว ไม่มีทุกข์ 
มีความทุกข์ก็เพราะใจติดโลก 
ถ้าติดโลกเเล้วก็เกิดโลก 
ถ้าเกิดโลกแล้วก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ 
เป็นอนัตตา ไม่มีสาระเเก่นสาร

หลวงปู่คูณ สิริจันโท

Image by andreas160578 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



แค่ไม่เข้าไปเป็นทุกข์


จากหนังสือ เพียงแค่...รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ไม่ต้องไปทำมาก


ผู้มีปัญญาโปรดฟัง
ไม่ต้องไปทำมาก 
ให้มี "สติอยู่กับจิต
เป็นหนึ่งเดียวกัน" 
ให้ได้ "ปัจจุบัน" 
แค่นี้เหลือกินเหลือใช้ 
เหลือจะพรรณนา 

หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม

Image by bg242 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ความยึดติดเกิดที่ไหน


ความยึดติดเกิดที่ไหน 
ความเครียดและความกลัวเกิดที่นั่น 
ผู้อยู่ในโลกแต่ไม่รู้เท่าทันโลก 
ไม่ศึกษาและปฏิบัติธรรม
คือไม่สนใจธรรมชาติของตัวเอง 
ไม่สนใจธรรมชาติของตัวเอง
ย่อมเป็นเหยื่อของมันอยู่เรื่อย อย่างเช่น 
กลัวความตาย เป็นต้น และกลัวการ
พลัดพรากจากสิ่งที่ให้ความสุขแก่ชีวิต 

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ

Image by JerzyGorecki from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การภาวนาอยู่ในชีวิตประจำวันเรา


การภาวนาสำคัญคือรู้ทันความรู้สึก 
การเจริญสติในชีวิตประจำวัน 
ไม่ใช่กลับไปเดินจงกรม 15 นาที 
สวดมนต์ไหว้พระ แล้วนี้คือการภาวนา 
ถ้าคิดอย่างนี้ แล้วยังแบ่งชีวิตอย่างนี้ 
หรือรีบๆ ทำงานให้เสร็จ 
เดี๋ยวจะกลับไปเดินจงกรม 
อันนี้ยังภาวนาไม่เป็นเลย 
เพราะการภาวนาอยู่ในชีวิตประจำวันเรา

คุณมาลี ปาละวงศ์

Image by michaelkaelin from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การไม่หวังอะไร อาจจะดูเหมือนทำให้หัวใจแห้งแล้ง


..ลองทำงานด้วยความรู้สึกที่ว่างลง  
จะเห็นว่าต่างกับที่ทำงานด้วยความอยาก 
ที่ทั้งเหนื่อย ทั้งหนัก ทั้งวุ่น ร้อนเร่าไปหมด  
ยิ่งมีการแก่งแย่งมีผลประโยชน์รุนแรงเท่าไร  
ก็ยิ่งเร่าร้อนจัดจ้านขึ้นเท่านั้น
ทำงานตามหน้าที่ของตน  
ไม่หวังบุญคุณกับใครให้ยุ่งยากใจ 
ทำงานเพื่อให้สังคมเจริญ
ตามกำลังความสามารถของตน 
ใครไม่ชอบก็ช่าง ใครชังก็เฉย  
กลับทำให้ใจนั้นโปร่ง เบาและชุ่มเย็น สุข สันติ
การไม่หวังอะไร อาจจะดูเหมือนทำให้หัวใจแห้งแล้ง
แต่พอลองทำได้ สัมผัสได้เข้าจริงๆ  
ก็จะกลับรู้สึกสงบเย็น
เป็นความมหัศจรรย์อย่างหนึ่ง  

ท่าน ก.เขาสวนหลวง

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



รู้ทันความเผลอคิดได้จะกลายของดี


"ใจที่เผลอคิด" คือจุดเริ่มต้นของทุกอย่าง 
อย่าไปกลัวหรือหงุดหงิดเวลาเผลอ
และไม่ต้องไปห้ามความคิด 
แต่ให้ฝึกรู้ทัน 
ใจที่เผลอคิดถ้ารู้ไม่ทันแบบนั้นไม่ดีแน่ 
แต่ถ้ารู้ทันความเผลอคิดได้จะกลายของดี

พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน

Image by yookiwon80 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



อย่าเคลื่อนไหวฟรีๆ


อย่าเคลื่อนไหวฟรีๆ
พยายามใส่ใจที่จะรู้บ้าง
อย่าคิดฟรีๆ ต้องรู้บ้าง
อย่าทุกข์ฟรีๆ อย่าโกรธฟรีๆ ให้มีสติรู้บ้าง
เป็นการเสริมสร้างให้สติเกิดขึ้นบ่อยๆ
แล้วสิ่งนั้นก็จะเกิดเป็นความเคยชิน เป็นอัตโนมัติ

อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

Image by zhangliams from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ขอให้กลับมารู้สึกตัวให้ทัน


เพราะความรู้สึกตัวไม่ชัด
ความรู้สึกตัวไม่หนักแน่นพอ
ความรู้สึกตัวไม่ทั่วพร้อมพอ
จิตจะหลงทางเข้าไปใน
ความคิดปรุงแต่งทันที
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือเรื่องร้าย
พอได้โอกาสปุ๊บ ปรุงแต่งปั๊บทันที
ขอให้กลับมารู้สึกตัวให้ทัน

หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

Image by kirillslov from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



การให้อภัยนั้นเป็นทั้งวิปัสสนา และบุญใหญ่


ให้อภัยกันได้ อโหสิ ยอมกันบ้าง 
การให้อภัยนั้นเป็นทั้งวิปัสสนา
และบุญใหญ่กว่าการให้ทานด้วยวัตถุ
สร้างวัด สร้างเจดีย์ งานกฐิน มาร้อยวัด
ยังไม่เท่าการให้อภัย ให้อโหสิ ครั้งเดียวเลย

ให้หมดใจ ไม่โกรธ ไม่อาฆาต
ไม่ขอเอาคืน หรือเก็บมาทำร้ายใจตนเอง 
ให้อภัยเป็น
ก็จะเป็นวิปัสสนาและหลุดพ้นไปในตัว


พระอาจารย์ปกรณ์นันทน์ ฐิตธัมโม
Image by ThaiThu007 from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์


คนส่วนใหญ่เรียกร้องสิทธิมนุษยชน 
แต่คนมีปัญญาเรียกร้องสิทธิที่จะไม่ทุกข์

ท่าน ว.วชิรเมธี

Image by AlemCoksa from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



สมาธิของพระพุทธเจ้าแปลว่า "ความตั้งมั่น”



สมาธิของพระพุทธเจ้าไม่ได้แปลว่า "สงบ”
สมาธิของพระพุทธเจ้าแปลว่า "ความตั้งมั่น”
จิตมันตั้งมั่นอยู่ ไม่ไหลนั่นเอง
โดยที่ไม่ได้บังคับไว้
ถ้าบังคับไม่ให้ไหล ก็ใช้ไม่ได้...

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

Image by susan-lu4esm from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ว่างจากสมมติ ว่างจากความรู้


..สมมตินั้นเป็นแค่ภาพ เป็นแค่สิ่งที่แทนให้รู้ภายนอก.. 
สิ่งเหล่านั้นไม่มีอยู่ในใจจริง... 
ตั้งสติให้ตั้งมั่น ให้ดูมัน 
สมาธิตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวกับความรู้ภายในทั้งหมด 
ถ้าสติตั้งมั่น สมาธิตั้งมั่น 
ปัญญาก็จะเห็นแจ้งความจริงของสิ่งเหล่านี้ 
มันเกิดขึ้นแล้วดับไปหมด ไม่มีอะไรเป็นของเรา 
ไม่มีอะไรเป็นตัวเรา ไม่มีอะไรเป็นตัวตนของเรา 
เรียกว่าอนัตตาธรรม
ถ้าเห็นดั่งนี้ ความว่างจากความเป็นของเรา 
เป็นเรา เป็นตัวตนของเรา ก็อยู่ตรงนั้นนั่นเอง 
สมมติมีอยู่ เมื่อไม่เอามัน ก็เท่ากับว่างจากสมมติตรงนั้น 
ความรู้มีอยู่ ถ้าไม่เอามัน ไม่หลงมัน 
ก็เท่ากับว่างจากความรู้ตรงนั้นนั่นเอง 
จิตที่ประกอบด้วยสติสมาธิปัญญาเห็นแจ้ง 
จึงเป็นจิตที่อิสระ จิตที่ปล่อยวางนั่นเอง


พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ

Image by Pexels from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



วางสุข ทุกข์ไม่ต้องวางก็หายไปเอง


ดูก่อนอานนท์ ..
บุคคลทั้งหลายผู้ที่จะรู้ว่า
สุขทุกข์ติดกันอยู่นั้นหายากยิ่งนัก
มีแต่เราตถาคตผู้ประกอบด้วยทศพลญาณนี้เท่านั้น
บุคคลทั้งหลายที่ยังเป็นปุถุชนคนโง่เขลานั้น 
ทำความเข้าใจว่า
สุขก็มีอยู่ต่างหาก ทุกข์ก็มีอยู่ต่างหาก
ครั้นถือเอาสุข เราก็ได้สุข
เราไม่ถือเอาทุกข์ ทุกข์ก็ไม่มีดังนี้
เพราะเหตุที่ว่าเขาไม่รู้ว่าสุขทุกข์ติดกันอยู่
เขาจึงไม่พ้นทุกข์
เมื่อผู้ใดอยากพ้นทุกข์ ก็ให้วางสุขเสีย
ก็เป็นอันละทุกข์วางทุกข์ด้วยเหมือนกัน
ใครเล่าจะมีความสามารถพรากสุขทุกข์ออกจากกันได้
ถ้าเราตถาคตพรากสุขและทุกข์ออกจากกันได้ 
เราจะปรารถนาเข้าสู่พระนิพพานทำไม
เราจะถือเอาแต่สุขอย่างเดียว
เสวยแต่ความสุขอยู่ในโลกนี้ 
ก็เป็นอันสุขสบายพออยู่แล้ว นี้ไม่เป็นเช่นนั้น 
เราแสวงหาสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีทางที่จะพึงได้
เราจึงวางสุขเสีย
ครั้นวางสุข ทุกข์ไม่ต้องวางก็หายไปเอง อยู่กับเราไม่ได้

คิริมานนทสูตร

Image by Buhaan_ from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


อย่าถือเอาแม้อย่างเดียว


อาการของธรรมทุกแง่ที่เกิดกับจิต  
อาการจิต ความสัมผัสรับรู้ 
ในขณะที่อารมณ์มากระทบจิต 
ไม่ให้พลั้งเผลอและนอนใจในอารมณ์ 
นั่นแล เรียกว่า ความเพียร ..
ดี ชั่ว , สุข ทุกข์ , เศร้าหมอง ผ่องใส ... 
จงตามรู้ด้วยปัญญา 
แล้วปล่อยวางไว้ตามสภาพ 
ไม่ยึดถือและสำคัญว่าเป็นตน
สิ่งใดปรากฏขึ้น จงกำหนดรู้ 
อย่าถือเอาแม้อย่างเดียว
รู้ชั่ว ปล่อยชั่ว 
ถ้ากลับมาหลงดี ถือสิ่งที่ดีว่าเป็นตน 
นี้ก็ชื่อว่าหลง
จงระวังการมีสติ หรือเผลอสติในขณะนั้นๆ 
อย่าตามกังวล เป็นความผิดทั้งนั้น

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

Image by danfador from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา



ความเพียรแบบสายลมพัดผ่าน


ความเพียรในการปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งที่แปลก 
เราไม่อาจใช้ความเพียร
ในลักษณะเดียวกับการทำสงคราม 
ถ้าเราต้องการเอาชนะกิเลส 
นั่นคือการเพิ่มพลังให้กิเลส 
แม้เราไม่ต้องการเอาชนะ เพียงแค่ทำความเข้าใจ 
กิเลสกลับลดลงอย่างน่าประหลาด 
การทำความเพียรในแง่มุมของการปฏิบัติ
จึงมีความหมายตรงกับคำว่า “ไม่เพียรไม่พัก” 
เราไม่ได้ทำจริงจังนักแต่เราก็ไม่หยุดทำ 
ไม่ใช่ความเพียรแบบพายุ 
แต่เป็นความเพียรแบบสายลมพัดผ่าน..

คุณพศิน อินทรวงค์

Image by Free-Photos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ปล่อยวาง


จากหนังสือ เพียงแค่รู้สึกตัว โดย พระอาจารย์เจษฎา คุตฺตจิตฺโต

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


มีสติกำหนดรู้อยู่ในสิ่งที่จิตรู้นั่นแหละ


จิตรู้สิ่งใด..สติระลึกรู้สิ่งนั้น..สมาธิย่อมตั้งอยู่ที่นั้น
ปัญญาย่อมเกิดกับสิ่งนั่น..และเมื่อจิตเกิดกับสิ่งใด
จิตย่อมดับในสิ่งนั้นเช่นกัน..
มีสติกำหนดรู้อยู่ในสิ่งที่จิตรู้นั่นแหละ..
แล้วจะรู้และเข้าใจธรรมชาติของจิต... 

พระอาจารย์มหาบุญทัน รตนปญฺโญ

Image by Myriams-Fotos from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา


ปัญญาวิมุตติ


..เวลาจิตคิดนึกปรุงแต่ง 
สติมันรู้ทันมันก็ชำระไป 
เดี๋ยวมันคิด รู้ทัน ปรุงแต่งขึ้นมา รู้ทัน 
พอสติรู้เท่าทันความคิดปรุงแต่ง 
ความปรุงแต่งมันก็ต่อยาวไม่ได้ 
พอปรุงแต่ง รู้ทัน มันก็ดับไป ปรุงแต่ง รู้ทันก็ดับไป 
การที่จิตปรุงแต่งแล้วก็ยาวไปเรื่อย ๆ มันก็จะฟุ้งบ้าง 
ราคะ โทสะ โมหะมันจะตามมา 
แต่ว่าสติมารู้ทัน รู้ทัน ปรุง รู้ทัน 
ปรุง เผลอ รู้ทัน ปรุง รู้ทัน 
จนกระทั่งมันปรุงไม่ออก 
จิตจึงรวมเป็นสมาธิได้ 
.
แม้แต่กำหนดที่จิต กำหนดดูความปรุงแต่ง 
จิตรวมเป็นสมาธิได้เอง
โดยที่ไม่ต้องไปเพ่งลมหายใจให้ต่อเนื่องเพื่อทำสมาธิ 
กำหนดดูเท่าทันต่อจิต ดูเท่าทันต่อความปรุงแต่ง 
จิตก็รวมเป็นสมาธิได้ 
อย่างนี้เรียกว่าวิปัสสนานำหน้า สมถะตามหลัง 
คือสมาธิมันตามขึ้นมาได้เอง 
แล้วก็รู้ชัดรู้แจ้งในสภาวธรรมนั้น 
จิตรวมไปก็มีปัญญารู้เห็นสภาวะ 
ความเปลี่ยนแปลง ความหมดไปดับไป 
จนก้าวไปสู่วิมุตติความหลุดพ้น 
อย่างนี้เรียกว่าเป็นปัญญาวิมุตติ 
คือหลุดพ้นด้วยกำลังของปัญญา
ที่ไม่ได้ทำสมถะมาก่อน ไม่ได้เจโตวิมุตติมาก่อน 
แต่ทำปัญญาโดยเฉพาะ 

พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี

Image by dermatz_fotografie from pixabay

ที่มา  : เพจบ้านจตุรทวีปประทาน เพื่องานพระศาสนา