การกั้นจิตให้รู้อยู่ในตัว ไม่ใช่กั้นโดยกักขัง




การกั้นจิตให้รู้อยู่ในตัว ไม่ใช่หมายความว่าให้กั้นโดยกักขัง 
ได้แก่การสะกดจิต สะกดลม กลั้นลมจนเกิดความอึดอัด
ขาดความอิสระ อย่ากลั้นลม หรือ สะกดลมไว้ 
ต้องปล่อยให้จิตอยู่เฉยๆ ให้มีอิสระตามสภาพของมัน 
เพียงแต่คอยกันจิตไว้ให้อยู่คนละทางกับอารมณ์เท่านั้น 
ถ้าไปสะกดจิตสะกดลมเข้าแล้ว ก็จะทำให้ร่างกายอึดอัด
ทำการงานไม่สะดวก อาจทำให้ปวดให้เมื่อยบ้าง 
ทำให้ขัดให้ยอกบ้าง หรือทำให้มึนชาเป็นเหน็บก็ได้

ท่านพ่อลี ธัมมธโร

ให้รู้ตัวหลง




อย่าหลงกับความรู้
แต่ให้รู้ตัวหลง


หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ

ศัตรู..ก็คือ ใจของเรา นั้นเอง




ศัตรู..ก็คือ ใจของเรา นั้นเอง
อยากชนะสิ่งใด
งชนะใจตนเองให้ได้ก่อน
เป็นนายของใจให้ได้ก่อน
ชีวิตจะพบความสําเร็จได้...
ไม่ยากเลย


หลวงปู่สิม ญาณวโร

เมื่อสติต่อเนื่องเข้า..




เมื่อสติต่อเนื่องเข้า..
มันจะแปรสภาพเป็นสมาธิ
เมื่อมันได้ชื่อว่าเป็นสมาธินั้น
มันทำหน้าที่..ตัดความฟุ้งซ่านทางจิต


ท่านเขมานันทะ

ให้ดูกาย และแอบชำเลืองดูใจบ้าง




ให้ดูกาย ให้รู้สึกอยู่ที่กาย 
และแอบชำเลือง ดูใจบ้าง 
ไม่ต้องจ้องดู การจ้องดูจะเป็นการเพ่งไป 
จะทำให้เข้าไปในความคิดได้ 
แค่แอบดู พอความคิดเกิดขึ้นแค่รู้ 
แล้วกลับมาดูกาย
นี่เป็นหลักการปฏิบัติอย่างง่ายๆ 
แต่ที่เราทำแล้วไม่ง่าย 
เพราะเราคุ้นชินกับความคิด เลยไปกับความคิด...


หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

คนพาลคือใจเราไม่ดี



          ท่านให้ละคนพาล คนพาลอยู่ที่ไหนเล่า รวมมาสั้นๆ แล้วคือใจเราไม่ดี เมื่อใจไม่ดีแล้วมันเป็นอันธพาล ... ท่านให้ละคนพาล คบกับบัณฑิต บัณฑิตเป็นยังไง บัณฑิตคือใจเราดี เมื่อใจเราดีแล้วมันมีความสุข ความสบาย ...เป็นมงคลตรงนี้ ...

                                                                                            หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

หนทางอันเอกและบริสุทธิ์




น้ำใจของสัตว์ยุ่งด้วยธาตุ ระคนอยู่ด้วยธาตุ 
ธาตุไม่มีที่สิ้นสุด แม้จิตก็ไม่มีสิ้นสุด
จิตรับธุระหมดทุกอย่าง จิตเป็นแดนเกิด 
รู้เท่าอาการของจิตได้แล้ว รู้ปกติของธาตุ
เอโก มคฺโค หนทางอันเอก 
วิสุทธิยา เป็นหนทางอันบริสุทธิ์
มีทางเดียวเท่านี้


หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

ธรรมะที่แท้จริง ต้อง “ทิ้งเหตุ ทิ้งผล”




เรื่องธรรมะ.....ที่แท้จริงนั้น ต้อง “ทิ้งเหตุ ทิ้งผล” 
คือ ธรรมะมันสูงกว่านั้น
ธรรมะที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้น
มันอยู่ “นอกเหตุ เหนือผล” ไม่อยู่ในเหตุ..อยู่เหนือผล
ทุกข์ .. มันจึงไม่มี สุข .. มันจึงไม่มี
ธรรมนั้น ท่านเรียกว่า “ระงับ” ระงับเหตุ ระงับผล
ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่อย่างนี้ เถียงกันตลอดจนตาย..

หลวงปู่ชา สุภัทโท

“สติ” คือ ผู้รู้




คำว่า “สติ” คือ ผู้รู้
คำว่ารู้ๆ คือ รู้อยู่
ไม่ปล่อยจิตไปตามอารมณ์ทุกประการ

หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

อย่ามัวหลงฉลองวันเกิด



ให้คิดถึงความตายมากๆ
อย่ามัวหลงฉลองวันเกิด
ไม่เกิด มันไม่ตายนะ
พากเพียรอย่าให้มันเกิด
อย่าไปขวนขวายห้ามมันตาย
ให้ห้ามมันเกิดนั่น

หลวงปู่หา สุภโร

ผู้ใดไม่มีสติ ไม่มีธรรมะ




ผู้ใดไม่มีสติ ไม่มีธรรมะ
ชีวิต 100 ปีไม่ประเสริฐ
ผู้มีธรรมะเพียงวันเดียว
เพราะมีรสพระธรรม
ในหัวใจที่ได้สัมผัส
ยกมือไหว้ตัวเองได้ คุ้มค่าแล้ว

หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ 

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามก็อยู่ที่นั่น






ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่นจริงหรือเปล่า
แท้จริงความพยายามอยู่ที่ไหน ความพยายามก็อยู่ที่นั่น
เมื่อกำลังพยายามอยู่ ก็ต้องอยู่กับความพยายาม
คือรู้ว่ากำลังพยายามอยู่ อย่าไปมุ่งที่ผลสำเร็จ
อย่าไปมุ่งที่ผลของความพยายาม เพราะยังมาไม่ถึง


พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

อย่าให้มันปรุง




ใจมันหยุดนึกหยุดคิด มันสบายจริงๆ
ไม่มีเรื่องร้อนมาปรุงตัวเอง
นั่งสบาย นอนสบาย เป็นเสรีเต็มตัว
กิเลสมันปรุงออกไป มันร้อน
พอเห็นหน้ามันมาก็รู้ทันที พอแล้วๆ
ตัวเองสอนตัวเอง รู้เท่าเอาทัน 
อย่าให้มันปรุง


หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

มีพุทธะอยู่ในใจ




ใครก็ตามมีสติสัมปชัญญะ
ควบคุมความรู้สึกนึกคิด
ของตนเองอยู่ตลอดเวลา
ทำความรู้สึกให้สำนึกผิดชอบชั่วดี 
อยู่ในจิตใจตลอดเวลา
ผู้นั้นได้ชื่อว่า มีพุทธะอยู่ในใจ


หลวงพ่อพุธ ฐานิโย

หมั่นดูใจ สติจะว่องไวปราดเปรียว




เพียงแค่หมั่นดูใจของตนอยู่เสมอ ทำอะไรใจก็อยู่กับสิ่งนั้น 
ใจลอยไปไหน ก็รู้ แล้วกลับมาอยู่กับสิ่งนั้น 
ทำบ่อยๆ สติก็จะว่องไวปราดเปรียว 
ช่วยคุ้มกันใจ ไม่ให้อารมณ์ใดๆ ครอบงำ 
เพียงเท่านี้ ความสงบเย็น โปร่งโล่งเบาสบาย 
จะกลายเป็นเรื่องง่าย 
แม้รอบตัววุ่นวายเพียงใดก็ตาม


พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล

สงบก็รู้…จบ ไม่สงบก็รู้…จบ




ถ้าหากว่าเราสามารถทำจิตให้เป็นกลาง
ระหว่างความสงบและความไม่สงบ 
เราก็จะกลับมาหาใจของเราคือผู้รู้ 
ให้รู้แล้วจบ รู้แล้วจบ สงบก็รู้…จบ ไม่สงบก็รู้…จบ 
เมื่อจิตเป็นอย่างนี้ สภาวะปกติของจิตก็จะเกิดขึ้น ...
กลายเป็นว่าไม่สงบเราก็ปล่อย สงบเราก็ปล่อยวาง 
จึงไม่มีอะไรเป็นศัตรูกับอะไรทั้งนั้น 
หมดความปรารถนา หมดความต้องการ 
จึงรู้แล้ว “สักแต่ว่ารู้” เพราะไม่มีตัวตนของเราไปบังคับ 



ลุงหวีด บัวเผื่อน

สักแต่ว่า




เมื่อ สักแต่ว่า แล้ว
จิตไม่เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ มีคุณค่ามีราคา
ยิ่งกว่าตนพอจะไปหลงยึดถือ จิตก็หายกังวล 
รูปก็สักแต่ว่า ถึงยังเป็นอยู่ก็สักแต่ว่า
ตายไปแล้วก็สักแต่ว่า ความเปลี่ยนแปรสภาพเท่านั้น


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

ผู้ที่ไปนิพพานได้



          นิพพานนี้เป็นภูมิหนึ่ง แต่ไม่ใช่ภพ ฟังให้ดี นิพพานไม่ใช่ภพ ถ้าเป็นภพก็จะมีเกิดมีตาย แต่นิพพานไม่เกิดไม่ตาย และต้องท่านผู้ที่ทำลายความรู้สึกคิดนึกปรุงแต่ง ได้หมดราบคาบแล้วเท่านั้น จึงจะไปนิพพานได้

                                                                                       หลวงพ่อประสิทธิ์ ถาวโร

ดูกรท่านทั้งหลาย อย่ามีเสพสองฝั่ง




เทวเม ภิกขเว อันตา ปัพพะชิเตนนะ เสวิตัพพา 
ดูกรท่านทั้งหลาย อย่ามีเสพสองฝั่ง ฝั่งอะไรล่ะ 
ก็คือ ความรัก ความชัง นี่แหละ
....เมื่อความรักเกิดขึ้น ให้รู้เท่ามัน อย่าไปยึดไว้ 
อย่าไปถือมัน หากถือแล้วมันจะเป็นทุกข์ 
เมื่อไม่ได้ตามความประสงค์ 
ทีนี้เมื่อความชังเกิดขึ้น ความเกลียดเกิดขึ้น 
มันก็เป็นทุกข์ ทั้งสองเรื่องนี้ท่านไม่ให้ไปยึด 
มัชฌิมาปฏิปทา ให้อยู่กลาง ให้รู้เท่าไว้


หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

การติชมของผู้อื่นอาจเป็นธรรมขนานเอก




การติชมของผู้อื่นอาจเป็นธรรมขนานเอก
ที่จะทำให้เรารู้ว่า เราสามารถปล่อยวางได้แล้วหรือยัง
ถ้าเรายังเกิดดีใจเมื่อมีคนชม
นั่นหมายความว่า เรายังเป็นคนหลงโลก หลงอารมณ์อยู่
และถ้าเกิดความไม่พอใจ เมื่อมีคนมาติเตียน
ก็หมายถึงว่า เรากำลังหลงผิด ยังคิดว่าตัวเองดีตัวเองชั่วอยู่...
เราปฏิบัติเพื่อทิ้งดี ทิ้งชั่ว
ความดีและความชั่ว ก็คือมลทินของใจนั่นเอง


หลวงปู่คูณ สิริจันโท

บัณฑิต คือ ผู้ที่มีสติทุกเมื่อ




บัณฑิต คือ ผู้ที่มีสติทุกเมื่อ
ตื่นตัวอยู่ทุกเวลา
แม้จิตใจมันนึกมันคิดอะไรขึ้นมา
รู้เท่า รู้ทัน รู้จักกัน รู้จักแก้
รู้จักเอาชนะได้ นั้นเรียกว่าบัณฑิต


หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ

สงบจากความสุข สงบจากความทุกข์




สิ้นภพสิ้นชาติได้ในปัจจุบัน
**********************
ความสงบ
ไม่ใช่ความสุข ไม่ใช่ความทุกข์
แต่สงบจาก ความสุข
สงบจาก ความทุกข์
สงบจากความดีใจ เสียใจ
ได้มาก็ไม่ดีใจ เสียไปก็ไม่เสียใจ
มันเป็นเรื่องที่ทั้งไม่เกิดและทั้งไม่ตาย
...หมายถึง "อารมณ์ความรู้สึก" ที่มันไม่มีแล้ว หมดแล้ว
สมเด็จพระบรมศาสดาท่านจึงบอกว่า ภพสิ้นแล้ว
พรหมจรรย์จบแล้ว ไม่มีภพอื่นชาติอื่นอีกแล้ว...
ท่่านก็รู้สิ่งที่มันไม่เกิดไม่ตาย ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้เอง


หลวงปู่ชา สุภัทโท

เราเป็นทุกข์ เพราะไปเอามาเอง




คนนั้นคนนี้พูดนั่นพูดนี่ทำนั่นทำนี่
ก็เขาเป็นธรรมชาติของเขาอย่างนั้น
เราเองนี่ล่ะไป “เอา” เข้ามา 
ไป “ยึด” มันมา นี่เป็นเรื่องของเราทั้งนั้น
ที่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ 
ต้องจำไว้ เราเอง! ที่ทำให้เราเป็นทุกข์ !
เราไปเอามาเอง ไปยึดมาเอง 
ไปยึด ติด ข้อง ฉุดลาก “เรื่องราว”
มากลุ้มรุมจิตตัวเอง นี่จึงเรียกว่า โง่


พระอาจารย์ครรชิต สุทธิจิตโต

ความตายไม่ได้ทำให้เราทุกข์




ความตาย..มันไม่เป็นสิ่งอันตรายหรอก 
มันไม่ได้ทำให้เราทุกข์หรอก
แต่ความกลัวตาย ความอยากไม่ตายนี้ ทำให้เราทุกข์
เพราะความหลง ไปคิดว่า ร่างกายเป็นเรา
พออะไรเป็นเรา เราก็ไม่อยากให้มันจากเรา เรายึดติด......
ก็ต้องปล่อยมันไป ไม่ต้องไปเสียดายหรอก 
มันไม่ได้เป็นตัวเรา

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

“ความไม่ทุกข์” ต่างหาก คือชีวิต




อย่าไปคิดว่า “งานคือชีวิต”นะ
“ความไม่ทุกข์” ต่างหาก คือชีวิตนะ
งานเป็นเพียงส่วนหนึ่งของชีวิต
แต่ความไม่ทุกข์ คือชีวิตของเรา
อย่างนี้ดีกว่า เราจะได้ไม่เหนื่อย
ถ้าว่า “ชีวิต คือ การต่อสู้” มันเหนื่อย
ถ้า “ชีวิต คือ การเรียนรู้” อย่างนี้ไม่เหนื่อย


อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

การปฏิบัติธรรมไม่ใช่ทำให้จิตเที่ยง




การปฏิบัติธรรมจนถึงการพ้นทุกข์ไม่ใช่เป็นการทำให้จิตเที่ยง 
ให้มีความสุขตลอด ให้มีความรู้สึกตัวตลอด ไม่ใช่อย่างนั้น 
บางทีก็รู้สึกตัว บางทีก็เผลอ เป็นธรรมชาติของจิต 
บางวันก็ปฏิบัติได้ดี บางวันก็ปฏิบัติไม่ได้ดี ก็ไม่ต้องเสียใจ
ควรจะดีใจ เพราะจิตแสดงอนิจจังให้เห็น นั่นแหละดีแล้ว


อ.สุภีร์ ทุมทอง

แม้ไม่ต้องการมีความทุกข์ในภพชาติหน้า...




แม้ไม่ต้องการมีความทุกข์ในภพชาติหน้า
ก็ต้องทำใจให้ไม่มีความทุกข์
เสียตั้งแต่ในภพชาติปัจจุบันนี้
ไม่ปรารถนาเป็นอะไร ไม่ปรารถนาเป็นอย่างไรในชาติหน้า
ก็ต้องทำใจ คือ 
ทำใจไม่ให้เกาะเกี่ยวอยู่กับอะไรนั้น กับอย่างนั้น
ตั้งแต่ในปัจจุบันชาติ
จึงจะสมปรารถนา ไม่เช่นนั้นก็จะสมปรารถนาไม่ได้


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

มีแต่เราไปหลงธรรมชาติ




ถ้าเรามองโลกให้เป็น ..
ทุกอย่างมันไม่เที่ยงแท้แน่นอน
แล้วเราจะไปหลงมันทำไม ? 
นี่คือกิเลสมันหลอกเอา
เราหลงงมงาย 
ไม่ใช่ธรรมชาติมันหลงเรา
มีแต่เราไปหลงธรรมชาติ
ร่างกายมันรักเราไหม ? 
มันอาลัยอาวรณ์เราไหม ?
มีแต่เราอาลัยอาวรณ์มันเอง

หลวงพ่อฉลวย อาภาธโร

ทำความรู้ตัวไว้ทุกอิริยาบถ




ทำความรู้ตัวไว้ทุกอิริยาบถ ทุกอาการ...
ถ้าเรารู้การกิน การเดิน การนั่ง การนอน 
ก้าวไปข้างหน้าก็ตาม ถอยมาข้างหลัง 
เหยียดแขนออก คู้แขนเข้า เหลียวซ้ายแลขวา 
ถ้าเรารู้ได้อย่างนี้แสดงว่าสัมปชัญญะ ตัวรู้ตัวของเราดีมาก 
ถ้ารู้ได้จริงๆ แบบนี้ละก็ใกล้พระนิพพานเต็มที จำไว้นะ


หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ




สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์ 
ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม 
ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่

สุปฺปพุทฺธํ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา
เยสํ ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจํ กายคตา สติ

พุทธพจน์

พระบรมศาสดาสอนให้ “ส่งคืน” ทั้งนั้น




ตาก็ส่งคืนให้ตา หูก็ส่งคืนให้หู .. 
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ สุข ทุกข์ อุเบกขา
อะไรก็ตามเถิด...พระบรมศาสดาสอนให้ “ส่งคืน” ทั้งนั้น
ถ้าไปสอดแทรกยึดถือ เป็นเรา เป็นเขา 
เป็นสัตว์ เป็นบุคคล
เหตุก็ดี กรรมก็ดี วิบากก็ดี
ก็เวียนกันอยู่ไม่มีกลางวันกลางคืน...

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

พึงสละความสุขเพื่อแลกเอาความสุขอันไพบูลย์




ผู้มีปัญญา ผู้ไม่ประมาทพึงสละความสุขเพื่อแลกเอาความสุขอันไพบูลย
คือความสุขที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ ไม่มีตาย 
ความสุขในโลกมีตายๆ เกิดๆ นั่นมีประมาณน้อยนิดเดียว
นักปราชญ์ท่านจะว่าไม่มีเสียก็ได้ 
ความสุขอย่างนี้เหมือนเหยื่อมันเกี่ยวอยู่ที่เบ็ด ...
ปลาไม่รู้ว่าเบ็ดมันเกาะอยู่... ก็ไปคาบเอา
เลยติดปากติดคออยู่อย่างนั้ 
นักปราชญ์คือพระพุทธเจ้าเห็นโทษของโลก
จึงมีความเบื่อหน่าย
...ให้ปล่อยมันเสีย อย่าถือมันอีก 

หลวงปู่ขาว อนาลโย

ปฏิบัติธรรมะ ต้องตายก่อนตาย




ปฏิบัติธรรมะ ต้องตายก่อนตาย 
แล้วต่อไปมันจะไม่ตายอีก
คำว่าตายก่อนตายก็คือ 
ให้อหังการตัวกู มมังการของกูมันตาย
ตัวกูเจ็บ ตัวกูตาย ให้มันหมดไปจากใจ
จนจิตว่างจากตัวกู ของกู


หลวงพ่อกนฺตสิริ (กนฺตสิริ ภิกฺขุ)

ความทุกข์ยิ่งกว่าความไม่สงบ ไม่มี




ความทุกข์ ยิ่งกว่า ความไม่สงบ ไม่มี
ไม่สงบกาย ไม่สงบวาจา ไม่สงบใจลงได้
เพราะอวิชชาตัณหา เป็นทุกข์อย่างยิ่ง

หลวงปู่มี ญาณมุนี

รู้แบบสติปัฏฐาน




รู้แบบสติปัฏฐานนี้เรียกว่า
รู้สิ่งที่มากระทบนั้น ก็สักแต่ว่า 
ไม่ใช่สัตว์ตัวตนเราเขา...
เหตุนั้นจิตจึงไม่ยินดียินร้าย 
ให้เข้าใจไว้บัดนี้ 

หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

ผู้เห็นธรรม รู้ธรรม




ผู้เห็นธรรม รู้ธรรมก็คือ 
ผู้มารู้มาเห็นโลกตามความเป็นจริง 
แล้วเบื่อหน่ายคลายจากโลกเอง 

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี