ระลึกรู้รูปนามเป็นปรกติ จะเกิดปัญญาเอง
เราเจริญสติ
ระลึกรู้รูป-นามให้เป็นปรกต
ิ
ให้เท่าทัน ให้ได้ปัจจุบันเรื่อยๆ ไป
วางใจเป็นกลาง ไม่ตกไปในข้างยินดียินร้าย
มันก็จะเกิดญาณ เกิดปัญญาขึ้นเอง
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
ทำลายความยึดมั่นถือมั่น คือทำลายกิเลส
เมื่อเรามาทำลาย
ความยึดมั่นถือมั่นในกายใจไ
ด้แล้ว
นั่นคือการทำลายกิเลส
คือการทำลายภพและชาติ
พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท
ถ้าเราหลงร่างกระดูก ก็เรียกว่าหนอนเหมือนกัน
เ
ราไปติเตียนแมลงวันว่าหลงข
องบูดของเน่า
เรากลับไม่ติเตียนเราว่าหลง
ของบูดของเน่า
เราสำคัญว่าสกลกายของเรามัน
สวยมันงาม
เราไปเพ่งโทษแต่แมลงวันและห
มู่หนอน
ตัวของพวกเราก็เป็นหนอนเหมื
อนกัน
...
ถ้าเราหลงร่างกระดูก ก็เรียกว่าหนอนเหมือนกัน
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
สุขอย่างยอดคือ การนำความถือตัวออกเสีย
...สุข เพราะไม่เบียดเบียน
สุข เพราะปราศจากราคะก้าวก่าย
ข้ามกามเสียได้
สุขอย่างยอดคือ
การนำความถือตัวออกเสีย
หลวงปู่บุดดา ถาวโร
การหมั่นดูใจ ...
การหมั่นดูใจ
เป็นหน้าที่ของทุกคน
พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร
ควรฝึกฝนอบรมให้มี “สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ”
ควรฝึกฝนอบรมให้มี
“สติรู้ตัวอยู่ทุกเมื่อ”
กำารปฏิบัติก็มีอยู่เท่านี้
เอง ไม่มีอะไรมากเลย
แต่ว่าจะรู้ได้แค่ไหนเท่านั
้นแหละ
ถ้าหากว่าเราชำนิชำนาญ
รู้ตัวอยู่ตลอดเวลา
มันก็ไม่เผลอ ก็จะไม่ทำความชั่ว
นั่นแหละคือ
การมีสติสมบูรณ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
เป้าหมายสูงสุด คือการปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด
การทำสมาธิ ทำอุบายวิธีต่างๆ เรามาสรุปตรงที่ว่า จิตปล่อยวาง การปล่อยวางของอารมณ์ของจิต ต้องปล่อยวางอย่างเด็ดขาด อารมณ์ของจิตต้องตัดขาดจากโลกนี้ ไม่ว่าอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น นั่นหมายถึงว่าจิตจะต้องไม่ปรุงแต่งในอารมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ความถูกต้องอยู่ตรงนั้น ถ้าบุคคลทำได้ดังนี้แล้ว ถือว่าการประพฤติเช่นนั้นถูกต้อง
เป้าหมายจุดสูงสุด คือ การปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด
พระอาจารย์จรัญ ทักขญาโณ
จิตยุ่งเกี่ยวกับอารมณ์ เป็นทุกข์
จิตใจที่ไปยุ่งเกี่ยวกับอาร
มณ์มากเท่าไร ก็ยิ่งให้ทุกข์แก่ใจของตัวเ
ท่านั้น ถ้ามันปล่อยปละละทิ้งเรื่อง
อารมณ์สัญญาได้มากเท่าไหร่ จิตใจก็เบาสบาย สว่างไสว...
พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร
จิตฟุ้งซ่าน ทำให้ได้ภาวนา
จิตเกิดความฟุ้งซ่านนั้นแหล
ะดี
จะทำให้เราได้ภาวนา
ยิ่งฟุ้งซ่านมาก ก็ยิ่งภาวนามาก
ภาวนาเพื่อเรียนรู้ความฟุ้ง
ซ่านนั้น
เมื่อรู้แล้วก็ละวางมัน
อย่าไปวิ่งตามมัน
อย่าไปสุข ไปทุกข์ กับมัน
หลวงพ่อกัณหา สุขกาโม
ให้รู้ในกายในใจ ไม่รู้ออกไปข้างนอก
พยายามให้รู้ในกายในใจ ไม่ได้รู้ออกไปข้างนอก
ไม่ได้ไปรู้ที่คนอื่น ไม่ได้ไปเพ่งคนอื่น
แต่ว่าจะเพ่งรู้เข้ามาในตนเอง แม้ตาต้องสัมผัสกับสิ่งภายนอก
หูต้องสัมผัสกับเสียงภายนอก จมูกต้องสัมผัสกับกลิ่น ลิ้นต้องสัมผัสรส
แต่การปฏิบัติธรรมนั้น เราดูปฏิกิริยา
ดูสภาวะความมีความเป็น ที่มันเกิดขึ้นในตัวเอง
ที่มันปรากฏสัมผัสสัมพันธ์อยู่ในตัวเอง นี่คือการปฏิบัติธรรม
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี
ควรฝึกจิตใจ ด้วยการ “รู้” แล้วปล่อยไป
ท่านควรฝึกจิตใจ ด้วยการ
“รู้” แล้วปล่อยไป
จิตที่รู้เรื่องอะไรแล้วไม่
ยอมปล่อย ก็ย่อมทุกข์
ซึ่งธรรมะแท้ๆ นั้นเป็นกลางๆ ใครปล่อยวางได้ก็สบาย
ฝึกด้วยการมีสติจับรู้อยู่แ
ต่ปัจจุบัน ภายในกายในใจตนนั่นเอง
มิต้องไปแสวงหาที่แห่งใด เมื่อท่านรู้ความจริงเช่นนี
้แล้วว่า
...
เหตุเกิดแห่งความสงบนั้นอยู
่ที่ “จิตหนึ่ง” นั่นเอง
แล้วท่านจะมัวหาความสงบจากส
ถานที่แห่งใดกันเล่า
หลวงปู่ชา สุภัทโท
ไตรลักษณ์เป็นปัญญาทางพระพุทธศาสนา
ไตรลักษณ์นี้แหละ
เป็นปัญญาทางพระพุทธศาสนา
ไม่ต้องศึกษากว้างขวาง
ศึกษาไตรลักษณ์นี้ก็พอ
เวลามองอะไรให้มองว่า
ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตน
ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
อย่าประมาทในสังสารวัฏ
อย่าประมาท
อย่าเพียงยินดีว่าเราจะไปเป
็นเทวดา
อย่ายินดีว่าเราจะไปเป็นนาง
ฟ้า แล้วหยุดแค่นั้น
อย่าประมาทในสังสารวัฏ ถ้าประมาทในสังสารวัฏแล้ว
เราจะไม่ได้คุณค่าที่แท้จริ
ง หรือสิ่งประเสริฐในพระพุทธศ
าสนา
...
ให้เราทำใจว่า ทำอย่างไรเราจะรู้เห็น
ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
ที่ท่านพร่ำสอนเหล่าสาวกอยู
่เสมอ
พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
นิโรธ คือหนีโลด
นิโรธ
ก็คือ ความดับทุกข์
ถ้าพูดเป็นภาษาพื้นบ้าน เราก็ว่า
“หนีโลด”
ทำไมว่าหนีโลด
เพราะว่าเห็นทุกข์ เห็นว่ามันเป็นของร้อนนั่นน
่ะ
นี่มันไม่เห็น มันก็เลยไม่อยากหนี
...
มันก็เลยไม่อยากปลง มันก็เลยไม่อยากวาง
หลวงปู่บุญมา คัมภีรธัมโม
สละสิ่งไม่ดีในใจ เป็นยอดของทาน
หัดเสียสละความรู้สึก สิ่งที่ไม่ดีที่มีอยู่ในตน ในจิตใจ ออกไปเสียบ้าง ความเคียดแค้น ความโกรธ ไม่พอใจ โกรธเล็กๆ น้อยๆ ขัดเคือง หัดสละออกไปจากใจบ้าง ก็เป็นทาน เป็นยอดของทาน สิ่งชั่วเหล่านี้ยังติดแน่น
เพราะเรานิยมพอใจในสิ่งเหล่
านี้ จึงแกะยาก เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาให้เ
ห็นโทษของสิ่งเหล่านี้ให้มา
ก
หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ
ดูตัวเอง จิตจะสว่างไสว
โยมทั้งหลาย สังเกตดูที่เขาหล่อพระพุทธร
ูปกัน เห็นมั้ย?
พระพุทธเจ้าไม่เคยส่งพระเนต
รไปข้างนอก แค่ดูตัวเองนะ
ทอดพระเนตรลงต่ำ ดูที่มือตัวเองนั่นแหละ ... ไม่ส่งใจออกนอก นั่น! เขาเรียกว่าดูตนเองแหละ ... ไม่ดูคนอื่น ดูทำไมคนอื่น ...ใจเรานี่มันดีหรือยัง...
นี่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหานะ มองหาแสงสว่างไม่มี ที่เขาเรียกมืดแปดด้าน
แต่ถ้าคนมองดูตัวเอง จะสว่างไสว
จิตดวงนี้ไม่มีกิเลสเพราะมั
นสว่างไสว มันมีเมตตา มีศีล มีธรรมในหัวใจ นั่นแหละ! เพราะว่าบุญคุ้มครอง ศีลคุ้มครอง เห็นมั้ยล่ะ!! ธรรมก็คุ้มครองใจเรา...
หลวงพ่อฉลวย อาภาธโร
ใจทุกข์เพราะหลงแบกขันธ์ ๕
เมื่อขันธ์ ๕ มีสภาวะทุกข์โดยธรรมชาติ
การหลงเข้าไปยึดไปแบกขันธ์ ๕ ด้วยอาการที่ไม่รู้เท่าทัน
จิตใจจึงพลอยได้รับความทุกข
์ไปด้วย
วางขันธ์ ๕ ลงได้เมื่อใด จะเหมือนการวางภูเขาหินที่เ
คยแบกไว้
มันเบา มันสบายอย่างบอกไม่ถูก...
พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท
เมื่อสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ก็เป็นคนสมบูรณ์
มีสติรู้ตัวเสมอ รู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดข
ึ้น
กับกาย วาจา จิตของเรา
รู้ว่าดี ชั่ว ถูก ผิด
บุญ บาป ไม่บุญ ไม่บาป นั้น
ล้วนเกิดมาเพื่อฝึกสติสัมปช
ัญญะของเรา
เมื่อสติสัมปชัญญะของเราสมบ
ูรณ์
เราก็เป็นคนสมบูรณ์ สามารถทำความดี
ได้สมบูรณ์ นี่คือแนวทาง
หลวงพ่อทอง จนฺทสิริ
รู้แล้วปล่อย รู้แล้ววาง เป็นมรรค
รู้แล้วปล่อย รู้แล้ววาง เป็น
มรรค
รู้แล้วถือ รู้แล้วยึด เป็น
สมุทัย
พระอาจารย์อังคาร อัคคธัมโม
ให้ใช้ความคิดเป็นเครื่องรู้ของจิต
ให้ทำ
สติกำหนดรู้ลงที่จิต
คอยจ้องดูว่าความคิดอะไรจะเ
กิดขึ้น
พอมีความคิดอะไรเกิดขึ้น เราทำสติตามรู้ รู้ตามไปเรื่อย
จิตมันจะคิดเรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องสารพัดสารเพอะไรก็แล้
วแต่ ปล่อยให้มันคิดไป แต่หน้าที่ของเรา ทำสติตามรู้อย่างเดียว จะคิดเรื่องบุญเรื่องบาปเรื
่องกุศลอกุศลอะไรไม่สำคัญ
ให้กำหนดเอาความคิดอันนั้นแ
หละเป็นเครื่องรู้ของจิต เครื่องระลึกของสติ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
รู้จริงคือรู้ไตรลักษณ์
...เมื่อเราอยากจะรู้จริง เราก็ต้องทิ้งตัวรู้ก่อน
รู้ปลอมๆ เนี่ย เมื่อเราทิ้งตัวรู้ได้ปุ๊บ
รู้จริงมันก็เกิดขึ้น
รู้จริงคือรู้ว่าทุกสิ่งอย่าง
มันเกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ มันก็ดับไป
เกิดขึ้นแล้ว ตั้งอยู่ มันก็ดับไป
...
ตัวรู้จริงมีหน้าที่แค่นี้ ไม่ไหลไปตามอารมณ์
นี่เค้าเรียกรู้แบบธรรมะ...
หลวงพ่อวิชัย เขมิโย
สิ่งสำคัญที่สุดคือการฝึกจิตให้เข้าใจและปล่อยวาง
พระพุทธเจ้าทรงแน่วแน่กับสิ
่่งที่ได้ตรัสสอนว่าสิ่งที่ส
ำคัญที่สุด
คือการฝึกจิต ให้เข้าใจและปล่อยวางสิ่งที
่ไม่ใช่ตัวตนของเรา
โดยความเข้าใจนี้
แก่นแท้ธรรมชาติของตัวเราแล
ะสิ่งทั้งหลาย
จะเผยตัวออกมาเอง
พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ชัดเจน
มากว่า
ประสบการณ์ความเข้าใจในสัจธ
รรม
...
ไม่สามารถสรุปย่อเป็นหลักกา
ร หรือสื่อได้โดยใช้คำพูด
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การฝึกจิต
พระอาจารย์สุเมโธ
ให้รู้จักจิตว่าคราวไหน เกิดอะไร
ทุกข์เกิด ก็ให้อยู่กับทุกข์ สุขเกิด ก็ให้อยู่กับสุข ให้รู้จักตัวมัน
ให้รู้จักจิตว่าคราวไหน เกิดอะไร ให้อยู่กับมัน
....สังเกตดูมัน ให้ควรดูมันโดยกำหนดจดจ่อ ดูมันให้ตลอด
ผลที่สุด มันก็จะจืดจางหายไป เช่นเดียวกับนั่งทับหญ้า
นานๆ ไป มันก็จะค่อยๆ ตายไปเอง....
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
เมื่อเพียรดูจิต จะเข้าใจสังขาร
เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต
ดูความคิด ความนึกของตัวตลอด
ไม่ยอมให้หลุดจากจิต
แล้วเราจะเข้าใจสังขาร
อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
...
มันปรุงเราให้ดีใจ เสียใจ
ร้องไห้ หัวเราะ โศกเศร้า
มันปรุงเราได้ๆ
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
ขอให้ “จิตว่างจากอารมณ์” เท่านั้น
ให้พากันเร่งนะความเพียร
อย่างอื่นอย่าไปสนใจมาก
กำหนดที่
“จิต”
ขอให้
“จิตว่างจากอารมณ์”
เท่านั้น
มันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทั
นที
หลวงปู่ลี กุสลธโร
วิธีตามดูจิต
วิธีตามดูจิต
***********
การตามดูจิตนั้นต้องมีอุบายวิธี มีวิธีการดูคือให้เราดูจิตไปเฉยๆ
อย่าบังคับเขา
ให้เราดูความรู้สึกชอบใจ ไม่ชอบใจ หรือรู้สึกเฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง เพียงแต่สังเกต อย่าห้าม อย่าบังคับความคิด ให้สังเกตดูความคิดเปลี่ยนไปเรื่อยๆ สังเกตความรู้สึกทุกชนิด จะเห็นความรู้สึกเปลี่ยนไปทั้งวัน ไม่มีความรู้สึกใดตั้งมั่นอยู่กับที่
จิตไม่เปลี่ยนนั้นไม่มี
พอเราเห็นจิตเปลี่ยนไปแล้ว จิตของเราจะรู้สึกเฉยๆ ทำให้จิต ไม่เป็นทุกข์
นี้เป็นวิธีการที่จะทำให้เราฉลาดในจิตของเราเอง..
พระอาจารย์มานพ อุปสโม
“รู้” ได้โดย “มิได้ยึดถือ” คือการข้ามความหลง
มีคำถามว่า การ
“ข้ามหลง”
จะข้ามด้วยวิธีไหนได้หนอ
ตอบย่อๆ พอฟังได้ง่ายๆ ว่า ข้าม
“ผู้รู้”.
“รู้”
ได้โดย
“มิได้ยึดถือ”
ว่า ผู้รู้เป็น “เรา เขา สัตว์ บุคคล ตัวตน”
ในขณะจิตใดๆ เลยแล้วได้ เรียกว่าเรา
“ข้ามความหลง” ได้โดยสิ้นเชิง
โดยประการทั้งปวง
หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
ฝ่ายโลกยึดเอาตัวปลอมว่าเป็นตัวจริง
ฝ่ายโลกถือสุขกายเป็นใหญ่ ฝ่ายธรรมสุขใจเป็นใหญ่
เพราะรู้อริยสัจตามความจริง
ว่า ร่างกายนี้มันเป็นเพียงแค่ ธาตุ ๔
มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราจริงๆ คือจิต หรือ อทิสมานกาย
ที่อาศัยขันธ์ ๕ อยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น
ฝ่ายโลกเข้าใจผิดจึงยึดเอาต
ัวปลอม (เงา) ว่าเป็นตัวจริง
...
บำรุงบำเรอมัน แล้วทรมานตัวจริง (จิต)
ขาดเมตตาตัวเอง ทำร้ายตนเอง เผาตนเองตลอด
พอกายแตกดับไป
ตัวจริงต้องไปรับผลกรรมที่ท
ำไว้
ตัวปลอมไม่ต้องไปรับ คงเป็นแค่ธาตุ ๔ อยู่กับโลกต่อไป
หลวงปู่หลุย จันทสาโร
สำคัญคือรู้ทัน
เรื่องของ อารมณ์ ความคิด ต่างๆ
มันเกิดขึ้น มันไม่แปลก
เพราะถ้าไม่เกิด มันก็ไม่ใช่จิต
สำคัญคือ
เรารู้ทัน
แล้วไม่ให้ค่า ให้ความสำคัญกับมัน
พระอาจารย์ครรชิต อกิญจโน
ถ้าไม่ทิ้งสุขภายนอกก็จะไม่เจอสุขภายใน
จงทิ้งสุขเก่าเพื่อเอาสุขให
ม่
จงทิ้งสุขภายนอกเพื่อเอาสุข
ภายใน ...
สุขเก่าหรือเรียกว่าสุขภายน
อก
มันเป็นสุขที่เกิดมาจากจิตข
องเราเอง
ที่กระเพื่อมออก เช่นการร้องเพลง
...
การยินดีในกามคุณ ฯลฯ มันเป็นสุขที่ไร้สาระ
เพลิดเพลินไปก็รอวันตายไปเป
ล่าๆ ...
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ทิ้งสุ
ขภายนอก
เพราะสุขภายนอก มันคือสุขที่ทำให้
คนต้องจมอยู่ในวัฏสงสารไม่ม
ีที่สิ้นสุด
ถ้าไม่ทิ้งสุขภายนอกก็จะไม่
เจอสุขภายใน
หลวงพ่อไม อินทสิริ
ธรรมจากใจจะไม่ปรากฏในตำรา
ธรรมที่ออกจากภาคปฏิบัติ ออกมาจากจิตใจล้วนๆ
จะไม่ปรากฏในตำรับตำราเลย
เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรเอาเพียงตำรับตำรา
มากั้นมากางมากีดมากัน
ความรู้ที่จะเกิดขึ้นจากภาคปฏิบัติของผู้ปฏิบัติทั้งหลาย
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
สติตั้งมั่น กิเลสย่อมหายไป
สติตั้งมั่นในที่ใด
กิเลสเหล่านั้น ต้องหายไปในที่นั้น
ถ้าหากสติตั้งมั่นอยู่ในทุก
อิริยาบถ
กิเลสมันก็ไม่เกิดอีกเท่านั้น
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดมา
คนเราเพียงแต่รับศีล ไม่ได้รักษาศีล
เข้าใจว่าศีลนั่นเป็นของพระ
ถ้าพระไม่ให้แล้ว เราก็ว่าเราไม่ได้ศีล
... อย่างนี้เป็นสีลัพพตปรามาส เพียงแต่ลูบคลำศีล
แท้ที่จริงนั้น ศีลของเราเกิดมาพร้อมกับเรา
ศีลห้าบริบูรณ์ตั้งแต่เกิดม
า
ขาสองแขนสอง ศีรษะหนึ่ง อันนี้คือตัวศีลห้า
...
เราได้จากมารดาของเรา เกิดมาก็มีพร้อมแล้ว
เมื่อเรามีศีลห้าบริสุทธิ์อ
ย่างนี้ ก็ให้เรารักษาอันนี้แหละ
รักษากายของเรา รักษาวาจา รักษาใจ ให้เรียบร้อย
หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
กายและใจ คือตัวทุกข์
วิ่งไขว่คว้า หาความสุข ภายนอกตน
จึงดิ้นรน ต่อสู้ นานหนักหนา
ทรัพย์สมบัติ ทั้งหลาย ที่ได้มา
สุดท้ายหนา ต้องทิ้งไว้ แล้วจากไป
แม้ร่างกาย เขาก็นำ เอาไปฝัง
...
จะมัวยัง หลงรัก อยู่ไฉน
สมบัติโลก ต้องคืนโลก ทั้งหมดไป
จงดูใจ ที่มัวหลง ในอารมณ์
แก่นแท้นั้น กายและใจ คือตัวทุกข์
จะหาสุข จากอารมณ์ คงไม่สม
อยู่กับทุกข์ รู้ความทุกข์ หมดตรอมตรม
รู้กายใจ ก่อนสิ้นลม พ้นทุกข์จริง
ศึกษา กายและใจ รู้สัจจะ
จึงเลิกละ ถอดถอนได้ ในทุกสิ่ง
เลิกหลงรัก เลิกหลงชัง และหยุดดิ้น
จิตจึงนิ่ง สู่สงบ พบนิพพาน
พระอาจารย์ชานนท์ ชยนนฺโท
เมื่อไม่หลงตามการปรุงแต่ง มันก็ดับเอง
...จิตของคนเราจริงๆ มันไม่ได้ไปไหน
คิดไปปรุงไป อันนั้นเป็นเรื่องสังขาร
มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร
เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์ เป็นเรื่องกิเลส
ที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป
...
เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไป
ตามไป
มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมัน
ก็ดับ
แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้
มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น
เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ไม่มีที่จบที่สิ้น ละวางเสีย หยุดเสีย...
หลวงปู่สิม พุทธาจาโร
การภาวนาเป็นกุศล ๓ ทาง
ในขณะที่เรานั่งภาวนาอยู่นี
้
ย่อมจะเกิดกุศลขึ้นถึง ๓ ทางคือ
“กาย” เราก็ไม่ได้เบียดเบียนประทุ
ษร้ายใคร
“วาจา” เราก็สงบไม่กล่าวร้ายต่อใคร
“ใจ” ของเราก็อยู่ในเจตนาที่ดี
...
คือ ระลึกถึงแต่ “พุทโธ” ทุกลมหายใจเข้าออก
ไม่ได้คิดชั่วทุจริตหรือโกร
ธเกลียดใคร
ดังนี้
“กาย วาจา ใจ” ของเราก็บริสุทธิ์
เกิดเป็นบุญเป็นกุศลขึ้น
เพราะไม่ได้ทำบาปอันใด
ท่านพ่อลี ธัมมธโร
ฝึกปฏิบัติ เพื่อใจปล่อยวางได้
แม้ว่าพวกเรานั้นมีโอกาสน้อ
ย มีหน้าที่การงานมากก็ตาม
ก็ต้องพยายามฝึกหัดปฏิบัติ ฝึกหัดสติที่จะดูกายดูใจของ
เราอยู่เสมอ
เมื่อมีเวลาแล้วก็ฝึกในการส
วดมนต์ นั่งสมาธิทุกๆ วันไม่ให้ขาด...
จะได้มีความรู้ ความเห็น มีกำลังของใจที่จะต่อสู้กับ
ความรู้สึก
ความนึกคิดทั้งหลาย หรือต่อสู้กับสิ่งที่เข้ามา
ทางอายตนะ
คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่เข้ามาสู่ใจ
ใจของเราจะมีกำลังที่จะพิจา
รณาปล่อยวางได้
พระอาจารย์อนันต์ อกิญจโน
จิตปราศจากอารมณ์ ผ่องใส เรียกปัญญา
..“ปัญญา”
ก็ไม่ต้องไปแสวงหาที่ไหน
เมื่อ
“จิต”
ของเราสำรวมไว้ดี จิตของเราแน่วแน่
ปราศจากอารมณ์
มีแต่ความผ่องใส มีแต่ความสว่างไสว
ความผ่องใสหรือความสว่างไสว
เรียกว่า “ปัญญา”...
เมื่อ “องค์ปัญญา” เกิดขึ้นแล้ว
“ความมืด” หรือกิเลสตัณหา
ยากที่จะซ่อนเร้นอยู่ในจิตท
ี่สว่างไสว
สมบูรณ์เป็นธรรมขึ้นทั้งใจน
ั้น
หลวงปู่แบน ธนากโร
ทันความคิด อารมณ์จะไม่ทำลายจิตใจ
หากสติเราดี
ทันในความคิด
ถึงเราจะไปอยู่ในสถานที่ใดก
็ตาม
ถึงจะออกจากครูบาอาจารย์ไปอ
ยู่ตามลำพัง
อารมณ์มันจะไม่เข้ามาเหยียบ
ย่ำทำลายจิตใจ
เพราะเรามีสติ รู้ทันในอารมณ์
หลวงพ่ออินทร์ถวาย สนฺตุสฺสโก
รู้ทัน คือการทำสมาธิ
.. คิดอะไรขึ้นมา
รู้ทัน รู้ให้ทัน
เราทำอะไรก็ให้ทันการกระทำข
องเรา
คิดอะไรก็ให้ทันความคิดของเ
รา
พูดอะไรให้ทันคำพูดของเรา
ให้มีสติอยู่ตลอดเวลา
อันนี้เป็นการทำสมาธิ
ไม่ต้องบริกรรมภาวนาอะไรก็ไ
ด้
สำคัญอยู่ที่การทำสติ
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ถ้าเห็นจิตกับสภาพแวดล้อมเป็นสิ่งเดียวกัน
ถ้าวันใดเราเห็นว่า
จิตกับธรรมชาติที่แวดล้อมอย
ู่
เป็นสิ่งเดียวกัน
วันนั้นจะพ้นทุกข์
หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
‹
›
หน้าแรก
ดูเวอร์ชันสำหรับเว็บ